มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

คณะผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก นำโดย ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ดร.บัณฑิต อารอมัน ผู้ช่วยคณบดี ดร.ปริญญา ประหยัดทรัพย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ดร.สมีธ อีซอ ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม และอาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ เข้าคารวะนายอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี (H.E. Mr. Abdulrahman Abdulaziz Alsuhaibani) เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมหารือความร่วมมือด้านการศึกษากับซาอุดีอาระเบีย

ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม ได้นำเรียน นายอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียว่า มหาวิทยาลัยเกริก โดย ศ.ดร.นายแพทย์ กระแสชนะวงศ์ อธิการบดี มอบหมายให้วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ร่วมแสดงความยินดีกับท่านอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมทั้งในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โอกาสการค้า การลงทุน และการสร้างความร่วมมือในมิติด้านการศึกษา

โดยมหาวิทยลัยเกริกถือเป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศไทยที่ได้เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าพบ ฯพณฯ มุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และเยี่ยมเยือนหารือร่วมกับมหาวิทยาลัย King Abdulaziz มหาวิทยาลัยอิสลาม Madinah และมหาวิทยาลัย Umm Al-Qura ผ่านการอำนวยความสะดวกของสถานกงสุลไทย เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย

ในโอกาสนี้ ดร.ปริญญา ประหยัดทรัพย์ ได้เรียนท่านเอกอัครราชทูต ว่า วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มีสาขาวิชาการจัดการบริการฮัจย์และอุมเราะห์ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่นักศึกษาไทยและนักศึกษากลุ่มมุวัลลัตให้ความสนใจ และเลือกเรียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งวิทยาลัยฯ ส่งนักศึกษาร่วมฝึกปฏิบัติงานกับบริษัท มะชาริก เพื่อกิจการฮัจย์ ประจำปี 2566 เพื่อให้การดูแลผู้ประกอบพิธีฮัจย์จากหลากหลายประเทศที่กำลังจะเดินทางไปราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

นอกจากนี้ ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม ได้แนะนำท่านเอกอัครราชทูตว่า ดร.ปริญญา ประหยัดทรัพย์ มีบทบาทสำคัญในการเป็นเลขานุการผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ ซึ่งมีภารกิจในการกำกับดูแล อำนวยความสะดวกให้กับกิจการฮัจย์ไทยด้วย ทั้งนี้การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการฮัจย์จึงมีความสำคัญในประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพด้านการบริการและอำนวยความสะดวกผู้ประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ทุกปี

ขณะที่ ดร.สมีธ อีซอ ได้นำเสนอภาควิชาการเงินอิสลามว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียมีหน่วยงานหลายแห่งที่เป็นต้นแบบด้านการเงินอิสลาม มีธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม (International Islamic Bank) รวมถึงธนาคารอัลรอญะฮิ (Al Rajhi) ที่มีระบบการเงินอิสลามและการบริการเกี่ยวกับการเงินในหลากหลายรูปแบบ เป็นหนึ่งในธนาคารที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และได้รับความชื่นชมจากกลุ่มประเทศมุสลิมทั่วโลกในด้านการบริการที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าใช้งานได้สะดวก มีบุคลากรที่ทันต่อเทคโนโลยี และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติตามหลักชารีอะห์ ซึ่งธนาคารอัลรอญะฮิ (Al Rajhi) มีอยู่ 515 สาขา ตั้งอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นโอกาสสำคัญที่จะให้กลุ่มนักศึกษาที่เลือกเรียนด้านการเงินอิสลามเข้าไปศึกษา เรียนรู้ และฝึกงานในอนาคต

นอกจากนี้ ดร.บัณฑิต อารอมัน ผู้ช่วยคณบดี ได้นำเสนอ Proceeding ในงานการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติครั้งที่ 18 ภายใต้ธีม “กระบวนทัศน์ใหม่ การวิจัย ไทย-จีน-ซาอุดีอาระเบีย” โดยได้เน้นย้ำว่าความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการที่ส่งผลต่องานวิจัย และเครือข่ายนักวิชาการระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียมากยิ่งขึ้น พร้อมเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ กับหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกันทั้งในบริบทของการบริหารจัดการฮัจย์และอุมเราะห์ การเงินอิสลาม รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล และด้านอื่น ๆ ด้วย

หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ ได้กล่าวเสริมเติมว่า วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพได้จัดตั้งศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ โดยมีพันธกิจสำคัญในการเพิ่มทักษะด้านภาษาให้กับกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และการส่งสริมการเรียนภาษาอาหรับให้กับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานได้เชิญหัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ไปฝึกอบรมทักษะทางภาษาทั้งในระบบออนไลน์ และออนไซต์ เช่น โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ เป็นต้น

ฯพณฯ อับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีกับคณะผู้บริหารที่ส่งเสริมการศึกษาที่ทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ โดยสถานทูตซาอุดีอาระเบียพร้อมให้ความร่วมมือในด้านการศึกษาทุกมิติ และเล็งเห็นถึงโอกาสการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกริกกับมหาวิทยาลัยในซาอุดีอาระเบีย เพื่อต่อยอดการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในมิติทางด้านการบริหารธุรกิจ

นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตยังได้กล่าวถึงโอกาสพัฒนาศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพร่วมกับ King Salman International Complex for the Arabic Language เพื่อเสริมสร้างบทบาทของภาษาอาหรับในไทยและในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเข้าใจคุณค่าของภาษาอาหรับที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอาหรับและอิสลามไปพร้อมกัน

ที่มา ThaiNews

The post มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย appeared first on Thaimuslim.



มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
มหาวิทยาลัยเกริก ยกระดับสร้างโอกาสการศึกษาและความร่วมมือกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
Ads Links by Easy Branches
เล่นเกมออนไลน์ฟรีที่ games.easybranches.com

บริการโพสต์ thainews.easybranches.com/contribute