เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด

จากกรณีที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเตือน ผู้ค้าห้ามขายปลาภายในวัด ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อการทำบุญ เสริมความเป็นสิริมงคล โดยมีการยกข้อกฎหมายและ พ.ร.บ.เกี่ยวกับสัตว์ และผลการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2561 ซึ่งมีการออกหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ จนเหตุการณ์ปานปลายจนถึงการทำร้ายร่างกายกันนั้น

ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการแลผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า จากกรณีดังกล่าวนั้น ก็ทราบข้อเท็จจริงจากสื่อ ซึ่งรู้สึกว่าไม่ควรจะใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา และควรใช้แนวทางสันติวิธี ข้อกฎหมายที่มีอยู่จะดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและขอเป็นกำลังใจให้ แต่แน่นอนบางกรณีก็อาจจะเป็นเรื่องของการขัดผลประโยชน์ เรื่องของอาชีพ การทำมาหากิน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ แต่ก็ต้องมีวิธีการปรับตัวของการค้าให้เข้ากับสภาพบริบทแวดล้อมทางสังคมและข้อกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งสังคมจะอยู่ร่วมกันได้ก็ควรต้องมีขอบเขตและกติกาของการอยู่ร่วมกันเพื่อความสงบเรียบร้อยและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน

จากกรณีดังกล่าวนั้น ถ้าในแง่การปล่อยสัตว์ในวัด สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้รณรงค์เรื่องการยุติกับจับสัตว์ในธรรมชาติมาเพื่อปล่อยอย่างต่อเนื่อง เช่นการจัดทำภาพยนตร์สั้น ปล่อยนก บุญหรือบาป? หรือ รักไม่ปล่อย เพราะการจับสัตว์เพื่อมาปล่อยก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แม้การปล่อยสัตว์จะเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่สืบทอดต่อกันมา ที่ถูกยึดโยงกับความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา แต่เนื่องด้วยวัตถุทานคือสัตว์ในปัจจุบันต่างจากอดีต เพราะวิธีการจับสัตว์เพื่อมาปล่อยในปัจจุบัน ก็เป็นการทำลายวงจรชีวิตสัตว์ในธรรมชาติ เช่นจับแม่นก ลูกนกก็ตายหมดทั้งรัง เพราะขาดอาหาร จับแม่ปลา ลูกปลาก็ถูกกินทั้งหมดคอกเพราะไม่มีผู้ดูแล และเป็นการสนับสนุนวงจรธุรกิจค้าชีวิตสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 และจะนำมาสู่การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์โดยไม่สมควร เช่น การจับ การขังเพื่อรอปล่อย ปลา นก เต่า ก็ได้รับความทุกข์ทรมาน จากภาชนะ กรงที่คับแคบ แออัด เป็นต้น

โดยสัตว์ที่มีการจับตามธรรมชาติเพื่อมาสู่ธุรกิจเพื่อปล่อย เช่น เต่า หอยขม ปลาไหล ฯลฯ ก็อาจจะเป็นการทำบุญที่ทารุณสัตว์เช่นกัน เพราะหากปล่อยเต่าในน้ำเชี่ยวที่ไม่มีตลิ่งให้เกาะ หรือปล่อยเต่าในน้ำกร่อย ดวงตาของเต่าจะค่อยๆ บอดและก็จะตายไปในที่สุด หอยขมต้องอยู่ในที่ชื้นแฉะ เช่น บึงคลอง ไม่ใช่แม่น้ำ ปลาไหลก็เช่นกัน อยู่ไม่รอดเช่นกันในน้ำเชี่ยวไหลแรง และสำหรับปลาที่จับตามธรรมชาติหรือซื้อจากท้องตลาด หรือในบริเวณวัดและปล่อยในแม่น้ำก็เช่นกัน ต้องระวัง เพราะปลาอาจจะช็อกในน้ำที่มีอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากที่เคยเติบโตมาได้ และปลาบางชนิดปล่อยลงไปก็อาจสร้างปัญหาการรุกรานจากปลาต่างถิ่น การทำลายระบบนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพได้ ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาอย่างมาก

สำหรับกฎหมายในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้กำหนดห้าม ในการล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น นก เต่า บางชนิด ฯลฯ ตามมาตรา 12 ประกอบมาตรา 89 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 92 จำคุกไม่เกิน  5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การทิ้งสัตว์หรือการปล่อยสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งได้กำหนดโทษไว้ใน มาตรา 32 ถ้าเจ้าของไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

สำหรับเรื่องการปล่อยสัตว์ในวัดนั้นเคยมีมติมหาเถรสมาคมฯ ที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ

กำหนดเขตอภัยทานในพื้นที่วัด พ.ศ. 2538 ข้อ 4 การกำหนดเขตอภัยทานขึ้นไว้ โดยความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยขอสัตว์บก สัตว์น้ำ ตลอดถึงปักษีทวิชาติที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ได้อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุขปราศจากการถูกเบียดเบียน หรือรบกวนด้วยประการใดๆ ดังนั้น วัดจึงมีเขตอภัยทาน (Animal Sanctuary) ซึ่งเป็นเขตที่ห้ามผู้ใดกระทำ อันมุ่งหมายแก่การทำร้ายทำลายชีวิตสัตว์ อันเป็นการกระทำความผิดศีลธรรมเพื่อให้สัตว์ได้อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุขปราศจากการถูกเบียดเบียน มติที่ 410/2561 เรื่อง การจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการปล่อยสัตว์ในวัด โดยออกหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ 3 ข้อ ดังนี้ 1 ให้กำหนดพื้นที่วัดเป็นเขตห้ามเจ้าของสัตว์ นำสัตว์มาปล่อย   ละทิ้งหรือกระทำใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร 2.ให้กำหนดเขตพื้นที่วัดเป็นเขตห้ามซื้อขายหรือการทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าชีวิตสัตว์ภายในเขตวัด 3.ให้วัดต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยเคร่งครัด โดยมติดังกล่าวทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือ เลขที่ พศ.0006/09315 เรื่องขอส่งมติมหาเถรสมาคม แจ้งให้เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดทราบและถือปฏิบัติตามมติ อาจกล่าวได้ว่า จากมติมหาเถรสมาคมและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว วัดนั้นจึงเป็นพื้นที่เขตอภัยทาน สัตว์ที่อยู่ในวัดจะอาศัยอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขปราศจาการเบียดเบียน แต่เจ้าของสัตว์นั้นก็ไม่ควรนำสัตว์ของตนมาปล่อย ละทิ้ง ในพื้นที่วัดโดยไม่มีเหตุอันควร   เพราะปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดความรับผิดแล้ว และในพื้นที่วัดไม่ควรมีการค้าขายชีวิตสัตว์อันเป็นการกระทำฝ่าฝืนศีลธรรมในวัดอีกด้วย

ดังนั้นเรื่องจากรณีดังกล่าว ในเมื่อวัดมีมติขอความร่วมมือจากผู้ขายสัตว์ภายในวัด ให้ย้ายการขายสัตว์ออกนอกวัด ตามมติเถรสมาคมและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภายในระยะเวลา 1 เดือนนั้น ผู้ขายก็ควรมีการดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องก็ควรปฏิบัติกับผู้ค้าอย่างให้เกียรติและช่วยกันหาทางออกร่วมกันเพื่อสร้างสังคมและชุมชน ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต่อไป

The post เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด first appeared on สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์.



เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด

เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด

เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด

เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด
เลขา TSPCA แจงกรณีการห้ามปล่อยสัตว์ในวัด
Ads Links by Easy Branches
เล่นเกมออนไลน์ฟรีที่ games.easybranches.com

บริการโพสต์ thainews.easybranches.com/contribute