วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0

ชาวอินเดียจำนวนมากคาดว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของตนกับรัฐบาลกรุงวอชิงตัน จะยังคงมีความใกล้ชิด หลังการขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ในเดือนมกราคมปีหน้า เพราะทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์กันอย่างเหนียวแน่น ประเด็นที่สำคัญ ซึ่งทำให้ชาวอินเดียมีทัศนคติเชิงบวกต่อรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ มาจากการที่ทรัมป์แสดงท่าทีและเคยใช้นโยบายที่เเข็งกร้าวต่อจีน และในขณะเดียวกัน ดูเหมือนว่าอินเดียยังเป็นประเทศที่สามารถช่วยถ่วงดุลจีนในภูมิภาคอินโดเเปซิฟิกด้วย ฮาร์ช แพนต์ รองประธานหน่วยการศึกษานโยบายต่างประเทศของ Observer Research Foundation กล่าวว่า ได้เห็นตัวอย่างในช่วงรัฐบาลทรัมป์สมัยเเรก ที่คนสนใจอินเดียในบริบทของการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน เขาบอกว่า จากนี้อาจเกิดแนวทางใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และอินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0 ด้วย โดยบริบทใหม่นี้ อาจจะมีรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คือ สว. มาร์โค รูบิโอ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากทรัมป์ให้เป็นเจ้ากระทรวงดังกล่าว โดยสว.ผู้นี้มีประวัติสนับสนุนโยบายที่เเข็งขันกับรัฐบาลกรุงปักกิ่ง ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่า อินเดียส่งสัญญาณถึงความรู้สึกที่มั่นคง เมื่อทรัมป์จะขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ในขณะที่หลายประเทศรู้สึกกังวล สุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าวที่ออสเตรเลียว่า "ผมขอย้ำเตือนว่า กลุ่มความร่วมมือจตุภาคีได้รับการฟื้นฟูมาเเล้วในสมัยรัฐบาลทรัมป์" กลุ่มดังกล่าวภายใต้ชื่อ Quad ประกอบด้วยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและอินเดีย ศาสตราจารย์ สวารัน ซิงห์ แห่งมหาวิทยาลัย จาวาฮาร์ลาล เนห์รู กล่าวว่าในช่วงรัฐบาลทรัมปสมัยเเรก งานที่เกี่ยวกับความมั่นคง และการวิจัยพัฒนาของอินเดียเติบโตแบบก้าวกระโดด อินเดียหวังว่าทรัมป์จะผ่อนเพลามาตรการต่อรัสเซียและผลักดันให้สงครามในยูเครนจบลง ซึ่งจะช่วยทำให้อินเดียสามารถบริหารความสัมพันธ์กับสหรัฐฯและรัสเซียได้ง่ายขึ้น เธอกล่าว ที่ผ่านมา อินเดียมองข้ามาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ต่อรัสเซีย โดยทางการนิวเดลียังคงสานสัมพันธ์ทางการค้ากับมอสโก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกรุงนิวเดลีเตรียมรับมือกับเเรงกดดันทางการค้าจากสหรัฐฯ เช่นกันภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0 นโยบายของทรัมป์อาจนำไปสู่การกดดันให้อินเดียลดภาษีนำเข้าสินค้าอเมริกัน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้ยังได้เคยเรียกอินเดียว่า เป็น "ผู้ละเมิดรายใหญ่" ด้านภาษี และได้ถอดถอนสถานะพิเศษทางการค้าของอินเดีย ชินตามณี มหาพัตรา แห่ง Kalinga Institute of Indo Pacific Studies กล่าวว่า สหรัฐฯและอินเดียน่าจะต้องเจรจาเเลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เกิดการประนีประนอมกัน อีกเรื่องหนึ่งที่อินเดียน่าจะเจอเเรงต้านจากรัฐบาลทรัมป์ 2.0 คือ แผนที่รัฐบาลนิวเดลีอยากผลักดันให้ประเทศของตนได้รับเงินลงทุนจากบริษัทด้านกลาโหมสหรัฐฯ ที่มาตั้งโรงงานในอินเดีย โดยฝ่ายอินเดียหวังว่า จะเกิดการร่วมผลิตอุปกรณ์กลาโหมที่ส่งออกไปขายยังสหรัฐฯ  ฮาร์ช แพนต์จาก Observer Research Foundation กล่าวว่า โครงการดังกล่าวภายใต้คำขวัญ Made in India อาจจะขัดเเย้งกับ Make America Great Again ของทรัมป์  ที่ต้องการให้เพิ่มการผลิตสินค้าในสหรัฐฯ  ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีและว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ต่างมีบุคลิกเข้ากันได้ดี แม้ว่าท่าทีของทรัมป์ในอนาคตอาจเป็นสิ่งที่คาดเดายาก  ชินตามณี มหาพัตรา แห่ง Kalinga Institute กล่าวว่า "เคมีของผู้นำทางการเมืองทั้งสองจะเป็นกุญแจสู่ความสมพันธ์ที่มั่งคง ต่อการจัดการกับความเเตกต่าง และทำให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง" ที่มา: วีโอเอ

วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0

วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0

วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0

วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0
วิเคราะห์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0
Ads Links by Easy Branches
เล่นเกมออนไลน์ฟรีที่ games.easybranches.com

บริการโพสต์ thainews.easybranches.com/contribute