logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
เศรษฐกิจ

KResearch มอง Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทย แนะภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยแนะนำให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้จะเติบโตได้ราวๆ 2.6% ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายปัจจัย


  • Jun 24 2024
  • 79
  • 8369 Views
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยแนะนำให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้จะเติบโตได้ราวๆ 2.6% ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายปัจจัย

บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องสภาวะแวดล้อมโลกจากเดิมที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจาก

เขาได้เกริ่นถึงสาเหตุโลกร้อน ซึ่งอุณภูมิโลกเปลี่ยนแปลงตามจำนวนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำให้เกิดการเผาถ่านหิน ขณะเดียวกันโลกในยุคปัจจุบันเองพื้นที่ป่าตอนนี้เหลือน้อยมาก ตอนนี้อาจทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดสูญพันธุ์อย่างถาวร เนื่องจากป่าทำให้เก็บคาร์บอน และมีความหลากหลายทางชีววิทยาเยอะมาก 

ปัจจุบันบุรินทร์ได้กล่าวว่าโลกตอนนี้กำลังมีการลดคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ปัญหาคือการเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่เรื่องของการทำเกษตรกรรม ทำให้มีการใช้พื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการทำเกษตรแบบเดิมๆ

ข้อมูลจาก KResearch

จีนหันมารุก Clean Tech มากขึ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ จีนเน้นเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) เยอะมาก โดยบุรินทร์ชี้ถึงหลังปี 2008 นั้นอากาศในจีนดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอดีตที่อากาศในประเทศจีนนั้นถือว่าไม่ได้สะอาดมากนัก และจีนเองยังส่งออกรถยนต์มากกว่าเยอรมันแล้วในปัจจุบัน

เขายังชี้ว่า การที่จีนทำ Clean Tech เพราะเม็ดเงินลงทุน และได้กำไรเข้าประเทศ เนื่องจากจีนมีอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งประเทศอื่นไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะมองว่าโลกหลังจากนี้เดินหน้าไปยัง Clean Tech แน่นอน

อย่างไรก็ดีกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป นั้นไม่ต้องการสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากจีนกินรวบอยู่คนเดียว จึงมีการออกมาตรการขัดขวางออกมา เช่น กำแพงภาษี เป็นต้น

ขณะเดียวกันบุรินทร์ชี้ว่าสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ในการตั้งประเทศดีมาก และในอดีตนั้นเป็นประเทศเดิผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แล้ว แตกต่างกับจีนที่ยังเป็นประเทศที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก การที่หันมาสู่ Clean Tech เองนั้นถือว่าดีกับประเทศจีนไปในตัว

ข้อมูลจาก KResearch

ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับไทยในเรื่อง Clean Tech และ EV

Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังกล่าวถึง ภาษีนำเข้าสินค้าในช่วงที่ผ่านมาทำให้บริษัทจีนย้ายฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น แผงโซลาร์ อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีการขึ้นภาษีสินค้าบริษัทที่มีจีนเป็นเจ้าของ

ฉะนั้นแล้ว กลยุทธ์ของจีนอย่าง China+1 ที่มีการขยายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีทางการค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทันทีถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แต่เขายังชี้ว่าถ้าหากสหรัฐฯ มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากบริษัทจีนจริง คาดว่ารัฐบาลจีนจะทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนอีก 20% ถ้าหากมีการประกาศภาษี ซึ่งการลดค่าเงินหยวนนั้น ปัญหาที่ตามมานั้นอาจทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาในอาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายด้านการผลิตในไทย และยอดขาดดุลการค้าของไทยเพิ่มมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี เขามองว่า Clean Tech และ EV จะเป็นโอกาสใหม่ของไทย และกลยุทธ์ China+1 อาจไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงต่อไป  เขายังชี้ว่าอาเซียนจะต้องรวมพลังกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมถึงการมีบทบาทในตลาด เขตเศรษฐกิจ และศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของโลกหลังจากนี้

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าไทยยังมีจุดแข็งเช่น พลังงานสะอาด หรือกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นโอกาสดึงภาคการผลิตใหม่ๆ หรือดึงคนเก่งๆ เข้ามา แต่เขาเองก็มองว่าเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมากเช่นกัน

ข้อมูลจาก KResearch

เศรษฐกิจไทย ภายใต้การกีดกันทางการค้า

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าความกังวลในการกีดกันทางการค้าทำให้จีนเร่งส่งออกไปยังสหรัฐ ซึ่งไทยได้ประโยชน์จำกัด นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และในช่วงที่ผ่านมาไทยมีตัวเลขส่งออกสินค้าแย่กว่าในอาเซียน  

ปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยในช่วงข้างหน้า คือเรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐ สินค้านำเข้าจากผลสงครามการค้า และต้นทุนสินค้าเพิ่มจากผลกระทบจากเอลนีโญ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าภาคการผลิตอุตาหกรรมไทยอาจหดตัวได้อีก

สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น KResearch มองว่า ภาครัฐควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ กวดขันสินค้านำเข้าและสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงเติมสภาพคล่องให้กับ SMEs และเน้นวางแผนการจัดการน้ำ ขณะเดียวกัน ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนจะต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกมิติ ทำให้รายได้เติบโตเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุน

โดยในปี 2024 นี้ KResearch คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราวๆ 2.6% สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นมองว่ามาจากปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงการขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นไทยจากนักลงทุนชาวต่างชาติ

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites

image