KBank Private Banking Lombard Odier และ JPMAM ชี้ผลการเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ สร้างจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจ และการลงทุน แนะนักลงทุนจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง
KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier และ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Countdown To The Us Elections: Market Moves And Investment Strategies เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โค้งสุดท้ายการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ก
KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier และ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Countdown To The Us Elections: Market Moves And Investment Strategies เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โค้งสุดท้ายการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็น การเลือกตั้งที่น่าจับตามองมากที่สุด ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผลโพลและคะแนนนิยมค่อนข้างสูสีกัน ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว และอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง บวกกับการแบ่งขั้วทางการเมือง รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีการเผชิญหน้าอย่างชัดเจนและรุนแรงมากขึ้น ที่ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ดี ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กระทบเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน ทั้งนี้ได้แนะให้นักลงทุนจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง เพื่อรับมือกับความผันผวนระยะสั้นหลังการเลือกตั้ง
นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director, Financial Advisory Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ด้วยอิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่และการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายจากรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ หรือ กมลา แฮร์ริส จะชนะ หรือพรรคใดจะครองเสียงข้างมากในรัฐบาล ย่อมจะส่งผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เอง รวมถึงทั่วโลก และจากผลสำรวจของหลายๆ สำนักพบว่า เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามาปัจจัยสำคัญที่มีผลในการตัดสินใจเลือกของชาวอเมริกันคือเรื่องเศรษฐกิจ ที่ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะทะยอยฟื้นตัว หุ้นสหรัฐฯ เองก็มีผลงานที่ดี แต่ผลกระทบจากเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูงได้ทำลายความเชื่อมั่นของคนอเมริกันไปมาก จึงทำให้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดนับแต่การสำรวจหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551
นายจอห์น วู้ด Chief Investment Officer and Head of Investment Solutions Asia Lombard Odier Group กล่าวว่า มีโอกาสสูงถึง 35% ที่ โดนัลด์ ทรัมป์จะได้เป็นประธานาธิบดีและพรรครีพับริกันจะได้ครองเสียงข้างมาก ทั้ง 2 สภา ส่งผลให้นโยบาย “American First” จะถูกนำกลับมาเป็นนโยบายหลัก ซึ่งจะส่งผลกระทบและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เช่น ในด้านการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องภาษีนำเข้า และความเข้มงวดเรื่องนโยบายคนต่างชาติเข้าเมือง ซึ่งโดยรวมอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับการเกิดปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือทิศทางการลดดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐฯ หรือ Fed ซึ่งอาจจะชะลอลง ในทางกลับกัน ก็มีโอกาสถึง 30% ที่กมลา แฮร์ริส จะชนะการเลือกตั้ง แต่คาดว่าพรรคเดโมแครตจะไม่ได้ครองเสียงข้างมากทั้งสภาบน และสภาล่าง โดยนโยบายส่วนใหญ่จะต่อเนื่องจากปัจจุบันตามนโยบายของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ทั้งด้านพลังงาน แรงงานต่างชาติ และการต่างประเทศ โดยภายใต้การนำของกมลา แฮร์ริส คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงชะลอตัวแบบ Soft landing เงินเฟ้อทยอยลดลงสู่เป้าหมาย และการลดดอกเบี้ยของ Fed จะเป็นไปตามแผน
ในขณะที่ นายแคร์รี่ เคร็ก Executive Director and Global Market Strategist J.P. Morgan Asset Management กล่าวว่า สำหรับผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าผู้สมัครจากรีพับริกันหรือเดโมแครตจะชนะการเลือกตั้งและได้เป็นผู้นำคนใหม่ แต่ทั้ง 2 พรรคจะไม่ได้ครองเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด ทำให้เกิดสภาแบบผสม มองว่าการที่ใครจะได้เป็นประธานธิบดีก็สำคัญในระดับหนึ่ง แต่คะแนนเสียงของสภาก็มีความสำคัญในการผ่านกฎหมายเช่นกัน นอกจากนี้ยังมองว่านโยบายที่หาเสียงไว้ อาจจะไม่สามารถนำมาเป็นนโยบายได้จริง หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ทำให้การคาดเดาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าทำได้ยากลำบาก สำหรับผลกระทบต่อสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ กมลา แฮร์ริส เป็นฝ่ายชนะ เศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็น่าจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเป็นผู้ชนะและผู้แพ้ภายใต้ผู้นำและนโยบายใหม่ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การจัดพอร์ตการลงทุนควรจะให้ความสำคัญกับความสมดุล (Being Balance) โดยการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงในหลายๆ สินทรัพย์ผ่านกองทุนผสม (Balanced Fund) เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับพอร์ตโดยรวม ซึ่งในด้านของสัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ นักลงทุนต้องถามตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน และรอดูสถานการณ์หลังการเลือกตั้ง เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนต่อไป
นางสาวศิริพร กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับคำแนะนำการลงทุนที่ KBank Private Banking แนะนำคือให้ลงทุนในกองทุนผสม อย่าง กองทุน K-ALL ROADS Series และกองทุน K-WEALTH PLUS Series เป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดของพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งสามารถลงทุนได้ในระยะยาว และไม่ต้องกังวลต่อสถานการณ์เรื่องผลการเลือกตั้งที่ยากต่อการคาดเดา นอกจากนี้ สำหรับนักลงทุนที่ต้องลงทุนปรับพอร์ตหลังการเลือกตั้ง ทาง KBank Private Banking ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น ตัวเลือกกองทุนที่จะได้อานิสงค์จากชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ เช่น กองทุน TUSFIN ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐฯ ที่จะได้ประโยชน์จากการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงิน และกองทุน K-USA ที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯที่มีคุณภาพสูง ที่จะได้ประโยชน์หากโดนัลด์ ทรัมป์เดินหน้านโยบายการลดภาษีนิติบุคคล ตัวเลือกกองทุนที่จะได้อานิสงค์จากชัยชนะของกมลา แฮร์ริส เช่น กองทุน MRENEW / K-PLANET ซึ่งลงทุนในกลุ่มพลังงานสะอาดทั่วโลก เพราะจะได้ประโยชน์จากนโยบายชูโรงของพรรคเดโมแครต และกองทุน K-APB / KFHASIA หรือสินทรัพย์ทั้งตราสารหนี้ และตลาดหุ้นในเอเชีย ซึ่งจะได้อานิสงค์จากความรุนแรงด้านนโยบายกีดกันการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เบาบางลง รวมถึงแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่เป็นไปตามแผนจะทำให้ดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลง สวนทางกับสกุลเงินประเทศเอเชียอื่นๆ ที่แข็งค่าขึ้น หมายถึง เงินทุนที่จะไหลเข้ามาในเอเชียหนุนสินทรัพย์เอเชียขึ้นต่อจากนี้