logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
กำลังเป็นที่นิยม

หากมีกฎหมาย PDPA แล้วสามารถวิเคราะห์ Big Data ได้หรือไม่ ?

ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้ านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิ ศวกรรมคอมพิวเตอร์และมี ประสบการณ์ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย PDPA เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่ากฎหมาย PDPA ( Personal Data P

โดย: โดย:ทีมงาน Easy Branches - บริการโพสต์ของแขก โดเมนอำนาจ DA 66

  • Aug 31 2021
  • 102
  • 8036 Views


ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้ านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิ ศวกรรมคอมพิวเตอร์และมี ประสบการณ์ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย PDPA เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่ากฎหมาย PDPA ( Personal Data Protection Act) หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุ คคล จะถูกเลื่อนบังคับใช้ในปี 2565 แล้วนั้น แต่มีหลายท่านอาจจะสงสัยว่าถ้ ากฎหมาย PDPA เกิดการบังคับใช้แล้วจะมีผลต่ อการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้ องกับข้อมูลส่วนบุ คคลจำนวนมากหรือ Big Data หรือไม่ ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ที่มีข้อมูลอยู่ในมือเป็ นจำนวนมากมักมีความต้องการที่ จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่องค์ กรเก็บไว้อยู่เอง เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพการทำงานต่าง ๆ เช่น การเพิ่มยอดขายสินค้า การเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น

ปกติการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ าโดยอัตโนมัติมีความเสี่ยงสูง ที่จะมีผลกระทบด้านการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากผลลัพธ์ของข้อมูลที่ ได้มักจะถูกนำไปใช้ทำการตลาด เพื่อการประชาสัมพันธ์ตามลั กษณะสินค้าเป็นรายบุคคล หรือการทำการตลาดตามโปรไฟล์ ของลูกค้าเป็นรายบุคคลโดยอั ตโนมัติซึ่งอาจส่งผลทางกฎหมายต่ อเจ้าของข้อมูล ซึ่งคล้ายคลึงกั บการทำการตลาดแบบออนไลน์ที่ พบในปัจจุบัน เช่น กรณีที่เราเข้าไปค้นหาสินค้าที่ เราต้องการในแพลตฟอร์มการซื้ อขายออนไลน์ จากนั้นเมื่อเราเข้าใช้งาน Social network หรือเว็บไซต์ต่างๆ จะปรากฏสินค้าในลักษณะดังกล่ าวมาแสดงให้เห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะมีระบบหลังบ้านมีการวิ เคราะห์ข้อมูลความต้องการซื้อสิ นค้าของเรา รวมถึงระบบตรวจสอบตัวบุคคลทำให้ สามารถสร้างการโฆษณาที่แสดงสิ นค้าที่ตรงกับความต้องการของลู กค้าให้มากที่สุดนั่นเอง

ดร.ชัยพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นั้นกำหนดไว้ว่าการนำข้อมูลส่ วนบุคคลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ บุคคลหนึ่งให้ไว้แต่แรกย่อมมี ความผิด เช่น องค์กรหนึ่งได้ข้อมูลส่วนบุ คคลของลูกค้าจากการขายสินค้าหรื อบริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งอนุมานได้ว่าเป็นการทำสั ญญาทำให้องค์กรสามารถเก็ บรวบรวมข้อมูลนี้เพื่อนำไปปฏิบั ติตามความจำเป็นของสัญญาได้ เช่น การออกใบเสร็จรับเงิน หรือ การส่งสินค้า เป็นต้น แต่องค์กรนั้นไม่สามารถใช้ข้อมู ลส่วนบุคคลดังกล่าวดำเนินการอย่ างอื่นนอกเหนือจากเงื่อนไขหรื อความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามสั ญญาที่ระบุไว้ได้ ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีความผิดที่ จะขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมาย เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ข้อมู ลเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบด้านการคุ้มครองข้ อมูลส่วนบุคคลในวงกว้าง ที่สำคัญหากมีข้อมูลที่มีความอ่ อนไหวเป็นพิเศษ หรือมีข้อมูลของผู้เยาว์จะมี ความผิดมากขึ้นไปอีกด้วย

ดร.ชัยพร กล่าวในตอนท้ายว่า การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data จากข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่ สามารถทำให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้หากข้อมูลที่ต้ องการนำมาวิเคราะห์ Big Data มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ จำเป็นต้องทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้ อมูลส่วนบุคคลหรือ Anonymize หรือ Masking ข้อมูลส่วนบุคคล หรือการนำเอาแอททริบิวท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อมูลส่ วนบุคคลออก เช่น ชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่ หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร เป็นต้น ซึ่งอาจทำได้ในกระบวนการ Cleansing data ก่อนจะเริ่มทำการวิเคราะห์ Big Data ต่อจากนั้นต้องตรวจสอบให้มั่ นใจว่าไม่มีข้อมูลส่วนไหนที่ สามารถทำให้ระบุย้อนกลับมายั งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นที่จะต้องมีการคงข้อมู ลส่วนบุคคลไว้ในการวิเคราะห์ Big Data องค์กรก็จำเป็นต้องขอความยิ นยอมหรือขอ Consent จากเจ้าของข้อมูลทั้งหมดที่มีข้ อมูลปรากฎอยู่ในข้อมูลก่อนที่ จะทำการวิเคราะห์ Big Data ไม่เช่นนั้นอาจได้รั บโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้ วมากมาย

ข่าวสำคัญของไทย



ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites

image