กำลังเป็นที่นิยม
“ชาวเขา-ชาวเรา” ความเป็นอื่นที่คุ้นชิน แต่ไม่อาจมองข้าม
การ “แบ่งเขา” “แบ่งเรา” อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ และมีให้เห็นในสังคมไทยอยู่ตลอดเวลา สารคดีชุด “Some One หนึ่งในหลาย” จึงนำแนวความคิด “ความเป็นอื่น” (The other) มาสร้างกรอบการผลิตภาพยนตร์สารคดี ในชื่อตอน “ชาวเขา-ชาวเรา” เพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ให้เกิดการเบ
โดย: ทีมงาน Easy Branches - บริการโพสต์ของแขก
- Dec 10 2022
- 165
- 3516 Views
การ “แบ่งเขา” “แบ่งเรา” อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ และมีให้เห็นในสังคมไทยอยู่ตลอดเวลา สารคดีชุด “Some One หนึ่งในหลาย” จึงนำแนวความคิด “ความเป็นอื่น” (The other) มาสร้างกรอบการผลิตภาพยนตร์สารคดี ในชื่อตอน “ชาวเขา-ชาวเรา” เพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ให้เกิดการเบียดขับ ละเมิด ละเลยต่อกลุ่มคนที่อาจแตกต่างจากเรา ไม่ว่าทางเชื้อชาติ เศรษฐานะ หรืออื่นๆ
จากความเคยชินจนเมินเฉย หรือไม่ทันฉุกคิดว่าเราอยู่ร่วมกันได้ แม้จะมีความแตกต่าง สารคดีตอนนี้จึงได้หยิบยกวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโปว์ และผู้คนริมทางรถไฟตลิ่งชัน-บางระมาด ที่ดูหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่คนทั้งสองกลุ่มกลับมีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่ประสบกับการแบ่งเขา-แบ่งเรา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในสังพหุสังคมไทย
คนที่ถูกมองว่าเป็น “เขา” คือ สภาวะที่ผู้คนกลุ่มหนึ่งได้รับการมองจากกลุ่มคนอื่น ๆ หรือกลุ่มคนจำนวนมากของสังคม ว่ามีความแตกต่างและแปลกแยกไปจากกลุ่มคนอื่นๆ และใช่ว่าจะมีความต่างอย่างเดียว แต่บ่อยครั้งส่งผลให้เกิดการปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่ถูกมองว่าเป็น “ชาวเขา” ในลักษณะตีตราบ้าง ละเมิดบ้าง ละเลยบ้าง ทั้งในมิติความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการนำเสนอของสื่อ หรือในโอกาสทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรรม
การหยิบยกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนเขา ที่ถูกให้ความหมายแฝงมากมาย ทั้งแง่บวกและลบ หรือคนกลุ่มอื่นๆ กลุ่มเปราะบาง คนจนในเมือง ที่ไม่ว่าจะคือใคร “เขา” ในสารคดีนี้คือคนอื่นๆ ที่เราแทบไม่รู้จักความเฉพาะ หรือชีวิตที่มีอัตลักษณ์ของพวกเขาเลย และด้วยความไม่รู้เหล่านี้เอง จึงทำให้ง่ายต่อการที่เราจะตัดสินว่าเขาคือปัญหาของสังคมหรือประเทศ!!
“คำว่า ชาวเขาของเราเนี่ย อยากให้เขาเข้าใจว่าที่ว่า ด้อยไปนิดนึงนะ เหมือนกับว่าตอนนี้สังคมมองว่า ชาวเขานี่แหละ ทำลายเขา เอ่อ ทำลายเขา แล้วก็ทำลายต้นไม้ ทำลายทรัพยากร แม้กระทั่งวิถีชีวิต อ่า อยู่ก็ทำลาย มันกลายเป็นนักโทษเลย เหมือนกับว่า มันอยู่ในคุกเลย ทำอะไรผิดทั้งนั้นแหละ อยากให้สังคมรับรู้ว่า อย่าไปมุมมองตรงนั้นเลย เราเกิดมาทั้งชาติเนี่ย เราเลือกเกิดไม่ได้ ไม่ว่าเราจะเกิดเพศอะไร ภาษาอะไรก็ตาม” ความรู้สึกจากใจของ เสอะเยียเบ่อ งามยิ่ง ชาวบ้านป่าผาก จ.สุพรรณ
ยังมีมุมของคนที่อยู่ในสถานภาพทางสังคมที่สูงกว่า หรือมีอำนาจเหนือกว่าร่วมด้วย ต่างๆ เหล่านี้ จึงยิ่งต้องทำความเข้าใจผู้คนในต่างวัฒนธรรม คนกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อข้ามเส้นของการมองแบบแบ่งแยก สู่การมองให้เห็นความหลากหลาย เพื่อเข้าใจความจำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง
ร่วมมองในมุมใหม่จากสารคดี ชาวเขา-ชาวเรา เพื่อให้เห็นความเป็นคนในตัวเขาและตัวเราที่ไม่แตกต่างกัน นำทีมโดย นักวิจัยที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์ คณะนักวิจัยที่ปรึกษา ดร.พสิษฐ์ ปานแร่, นางสาวปรีย์วรา มีมาก, รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
ติดตามรับชมสารคดี “SOME ONE หนึ่งในหลาย” ตอน “ชาวเชา ชาวเรา” ทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ช่อง MCOT HD 30 ในวันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30-10.00 น. (โดยประมาณ) รวมทั้งช่องทางโชเชียลมีเดีย Facebook Fanpage และ Youtube Channel ภายใต้ชื่อ SOME ONE หนึ่งในหลาย และช่องทางพันธมิตรเครือข่าย