logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
กำลังเป็นที่นิยม

เมื่อลูกน้อยติดจอ เสี่ยง "ภาวะออทิสติกเทียม"

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ การปล่อยให้ลูกอยู่หน้าจอนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยนั่นคือโรคออทิสติกเทียม ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ป

โดย: ทีมงาน Easy Branches - บริการโพสต์ของแขก

  • May 23 2023
  • 142
  • 9928 Views
เมื่อลูกน้อยติดจอ เสี่ยง "ภาวะออทิสติกเทียม"
เมื่อลูกน้อยติดจอ เสี่ยง "ภาวะ

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ การปล่อยให้ลูกอยู่หน้าจอนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยนั่นคือโรคออทิสติกเทียม ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ปกครองหลายท่านกังวลใจ แต่เราสามารถป้องกันและดูแลลูกน้อยได้ ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่สมวัยและสมบูรณ์ บทความนี้จะมาทุกท่านมารู้จักกับสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงภาวะออทิสติกเทียมกัน 

ลูกน้อยติดจอเสี่ยงภาวะออทิสติกเทียมได้อย่างไร ? 

ภาวะออทิสติกเทียมมีอาการคล้ายกับโรคออทิสติก ซึ่งภาวะออทิสติกเทียมนั้นเป็นภาวะที่เกิดจากเด็กขาดการกระตุ้นด้านการสื่อสารเท่าที่ควร โดยทั่วไปพบว่าสาเหตุของภาวะดังกล่าวมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ขาดปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ละเลยปล่อยให้เด็กใช้เวลากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์มากจนเกินไป จึงทำให้ลูกได้รับการสื่อสารเพียงทางเดียว อันส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อพัฒนาการทางภาษาและสังคมตามมา

อาการบ่งชี้ของภาวะออทิสติกเทียม 

  • เด็กมักไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มักอยู่ในโลกของตัวเอง
  • เรียกไม่หัน ไม่สบตา 
  • พูดช้าหรือพูดไม่เป็นคำ 
  • หงุดหงิดง่าย โวยวาย 
  • มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำ ๆ 
  • ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล 

วิธีการดูแลเพื่อป้องกันภาวะออทิสติกเทียม

  • ไม่ควรให้ลูกน้อยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนอายุ 2 ขวบ
  • จัดเวลาหน้าจอให้เหมาะกับวัย สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไป สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ปกครองควรหากิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการร่วมกับเด็ก เช่น การวาดรูป ทำอาหาร เกมต่อจิ๊กซอว์ ร้องเพลง เล่นกีฬา เป็นต้น 
  • ผู้ปกครองควรหมั่นพูดคุยกับลูกน้อยโดยการฝึกพูดโต้ตอบและไม่ดุลูกด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
  • พาลูกออกไปเที่ยวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าสังคม

สิ่งสำคัญของการมีพัฒนาการที่ดีคือ การดูแลเอาใจใส่ของครอบครัว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพูดคุยและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และไม่ควรตามใจลูกให้อยู่กับสื่อเทคโนโลยีเวลานาน อย่างไรก็ตามหากสงสัยว่าลูกเป็นโรคออทิสติกเทียมหรือไม่ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเด็กได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็ว จะสามารถลดผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกได้

**************************************************************

บทความโดย แพทย์หญิงศิริพร แจ่มจำรัส กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) 

ศูนย์กุมารเวชชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ โทร 02-836-9999 ต่อ *2721

ข่าวสำคัญของไทย

อีซี่บร๊านเซสโกลบอล

คุณสามารถส่งประกาศของคุณได้

Satang ผู้นำด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites