หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) เทคโนโลยีและบริการคลาวด์อัจฉริยะ เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางคลาวด์ระดับภูมิภาค
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำเสนอเทคโนโลยีหัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ที่สุดแห่งบริการคลาวด์อัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ภาครัฐ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางคลาวด์ระดับภูมิภาค อาเซียน เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำเสนอเทคโนโลยีหัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ที่สุดแห่งบริการคลาวด์อัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ภาครัฐ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางคลาวด์ระดับภูมิภาค
อาเซียน เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในโลก และกำลังอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน ในฐานะผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาค รัฐบาลไทยได้เสนอ “นโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก” (Cloud First Policy) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยกให้เป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลระดับประเทศ นโยบายดังกล่าวส่งเสริมให้ภาครัฐและทุกภาคอุตสาหกรรมเร่งปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อคว้าโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายนี้ยังสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้บรรลุเป้าหมายของเศรษฐกิจดิจิทัล
พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังปรับใช้นโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เพื่อก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียนโดยเร็วที่สุด เราเลือกหัวเว่ยคลาวด์เป็นพันธมิตรสำคัญ เพื่อสนับสนุนนโยบายนี้ ขณะนี้เราให้บริการคลาวด์แก่หน่วยงานรัฐบาลไทยกว่า 220 หน่วยงาน และคาดว่าจะสามารถลดงบประมาณการลงทุนได้ 30% ถึง 50% ด้วยการยกระดับบริการของภาครัฐ เราคาดว่าประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น และยังสามารถส่งเสริมธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะดึงดูดให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างมหาศาล
นายวงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานดิจิทัล และรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานสื่อสารไร้สาย 1 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) กล่าวเสริมว่า “NT มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) โดยเราได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งตอบโจทย์การให้บริการโซลูชันคลาวด์ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ในการจัดตั้งสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์เพื่อรองรับบริการของภาครัฐ เรามีการจัดการแบบรวมศูนย์ ช่วยให้สามารถนำบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง การสำรองข้อมูลและโครงสร้างสำรองเพื่อรองรับการทำงานต่อเนื่อง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศ เราได้พัฒนานวัตกรรมการทำงานรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบสถานีขนส่งอัจฉริยะ บริการครบวงจรสำหรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ”
นายยุทธศาสตร์ นิธิไพจิตร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจคลาวด์และบิ๊กดาต้า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) กล่าวว่า “ศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) มอบรากฐานคลาวด์ที่เป็นหนึ่งเดียว และแพลตฟอร์มการแบ่งปันข้อมูลสำหรับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ โดยมีการใช้งานแอปพลิเคชันนับพันรายการ หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) มอบบริการคลาวด์ในสถานที่กว่า 80 บริการที่พร้อมใช้งานทันทีแก่ GDCC ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับระบบคลาวด์สาธารณะของหัวเว่ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากใช้สถาปัตยกรรมเดียวกัน ทำให้สามารถเข้าถึงบริการคลาวด์แบบครบวงจรได้ในคลิกเดียว นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ยังมอบความสามารถด้านนวัตกรรมแบบครบวงจรให้กับเรา ทั้งหมดนี้มีไว้เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งอนาคตของภูมิภาคเอเชีย”
นายจอห์นนี่ หลู่ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ธุรกิจต่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก กล่าวว่า “เพื่อแก้ไขความท้าทายหลัก 3 ประการในการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐ หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ได้นำเสนอสถาปัตยกรรมอ้างอิงแบบสามคลาวด์ ซึ่งประกอบด้วยคลาวด์ด้านความปลอดภัย คลาวด์สำหรับภาครัฐ และคลาวด์สาธารณะ หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก (Huawei Cloud Stack) ได้ส่งมอบโครงการภาครัฐมากกว่า 800 โครงการทั่วโลก เรามีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งและต้องการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความคิดสร้างสรรค์จากทั่วโลกในการขับเคลื่อนการก้าวกระโดดสู่คลาวด์ระดับชาติทั่วโลก โดยร่วมกันสร้างจุดเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลใหม่ๆ ร่วมกัน”
รัฐบาลไทยกำลังขับเคลื่อนวาระการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลอย่างครอบคลุม เพื่อผลักดันประเทศสู่การเป็นผู้นำในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ผ่านโครงการเชิงกลยุทธ์ในหลากหลายภาคส่วน ประเทศไทยมุ่งหวังที่จะใช้พลังของเทคโนโลยีในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลในยุคดิจิทัล