ไทยนิยม “รวยแบบตะโกน” มูลค่าตลาดของหรูแซงสิงคโปร์ แบรนด์ลักซูรีแห่เปิดแฟล็กชิป-ช็อป
รู้หรือไม่? ในปี 2567 มูลค่าตลาดลักซูรีในประเทศไทย คาดการณ์ว่าแซงประเทศสิงคโปร์ไปแล้ว (อ้างอิงรายงานฉบับล่าสุดของ Canvas8 ชื่อ “How are Southeast Asian shoppers changing luxury?”) ไทย มีมูลค่าตลาดลักซูรี 4.93 พันล้านดอลลาร์ ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท สิงค
รู้หรือไม่? ในปี 2567 มูลค่าตลาดลักซูรีในประเทศไทย คาดการณ์ว่าแซงประเทศสิงคโปร์ไปแล้ว (อ้างอิงรายงานฉบับล่าสุดของ Canvas8 ชื่อ “How are Southeast Asian shoppers changing luxury?”)
- ไทย มีมูลค่าตลาดลักซูรี 4.93 พันล้านดอลลาร์ ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท
- สิงคโปร์ มีมูลค่าตลาดลักซูรีอยู่ที่ 4.23 พันล้านบาท ประมาณ 1.45 แสนล้านบาท
เดิมในเอเชีย สินค้าลักซูรีมี “ญี่ปุ่น” เป็นตลาดหัวหอกสำคัญ แต่ขณะนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหมุดหมายที่แบรนด์ลักซูรีให้ความสนใจ จากกำลังซื้อมหาศาล
ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูง (UHNWI) หรือกลุ่มที่มีทรัพย์สินเกิน 60 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นในประเทศอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย “หรือกระทั่งไทยเอง ก็ติด Top 5 ยอดขายแบรนด์ลักซูรีสูงสุดในโลก (ตั้งแต่ช่วงโควิดแพร่ระบาด)”
โฟกัสรายได้รวมจากตลาดสินค้าสินค้าลักซูรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะแตะ 16,010 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5.6 แสนล้านบาท) ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 14,380 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 (ประมาณ 5.03 แสนล้านบาท)
คนไทยใช้จ่ายตามใจ ช้อปสินค้าหรูตั้งแต่อายุน้อยตามไอดอล
ตั้งแต่การระบาดโควิดครั้งใหญ่ได้เปลี่ยนวิถีการใช้จ่ายของคนไทย ไปสู่ “การซื้อของตามใจชอบและไม่ยั้งคิด“ และผู้บริโภคชาวไทยในกลุ่มอายุน้อยเต็มใจที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ตามกระแสตามไอดอล และศิลปินในดวงใจ
แม้สิงคโปร์เป็นแหล่งช้อปปิ้งลักซูรีมานาน แต่ตอนนี้ไทยและเวียดนามตามทัน สำหรับไทยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐีประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว เมียนมา และกัมพูชา มาซื้อสินค้าหรูหราในไทยมากขึ้น
เทรนด์รวยแบบตะโกน ไทยนิยมสินค้าหรูราคาแพง 30% ของเงินเดือน
สอดคล้องกับวิจัย “Unstoppable Luxumer เจาะอินไซต์ หยุดไม่ได้ใจมันลักซ์” ของ CMMU ระบุ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจซบเซา แต่ผู้บริโภคไทยหันซื้อสินค้าหรูหรามากขึ้น โดย 1 ใน 3 มีพฤติกรรมติดลักซูรี
ทำให้เกิดเทรนด์ผู้บริโภคที่เรียกว่า LUXUMER ซึ่งเป็นกลุ่มนี้มักให้คุณค่า และความสำคัญกับการบริโภคสิ่งของเพื่อภาพลักษณ์ และความสุขมากกว่าคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงราคาเป็นปัจจัยหลัก
โดยในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า 54% มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน 50% มีเงินเก็บน้อยกว่า 6 เดือน
“ชาวลักช์จำนวนมากยอมควักเงินซื้อสินค้าหรูมากถึง 10 – 30% ของรายได้ต่อเดือน”
แฟล็กชิป-ช็อปแบรนด์หรู เปิดเพิ่มในไทย
ด้วยปัจจัยข้างต้น ทำให้แบรนด์ลักซูรีระดับโลกปักหมุดสาขาใหญ่ในไทย ตั้งแต่ “Dior” ที่เปิดสาขาคอนเซ็ปต์สโตร์นอกห้าง “Dior Gold House” ที่ใหญ่ที่สุดของแบรนด์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือกระทั่ง Louis Vuitton ได้เปิด “LV The Place Louis Vuitton” เป็นแห่งที่ 3 ของโลก ภายใต้งบลงทุน 100 ล้านบาท ที่เกษรอัมรินทร์ ประกอบด้วยโซนรีเทล ค่าเฟ่ และนิทรรศการ
รวมไปถึง PRADA เปิดตัวบูติกใหม่ที่ภูเก็ต ตลอดจนมีการเปิดแฟลกชิปสโตร์และคอนเซ็ปต์สโตร์ของ LOUIS VUITTON MEN BOUTIQUE, FENDI MEN BOUTIQUE, PRADA MEN BOUTIQUE, LORO PIANA, BERLUTI แบรนด์รองเท้าและเครื่องหนังสำหรับผู้ชายระดับโลกจากฝรั่งเศส แห่งเดียวในไทยที่สยามพารากอน
น่าสนใจว่าปี 2568 จะมีแบรนด์หรูไหนมาปักหมุดที่ไทยเพิ่มอีกหรือไม่ รวมถึงปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจจะเขย่าตลาดสินค้าลักซูรีได้หรือไม่ คงต้องดูกันไปยาว ๆ