logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
รถ

Royal Enfield ‘Project Origin’ คืนชีพจักรยานยนต์คันแรก

ภาพ : สุพรรณี ยังอยู่ ●   Royal Enfield จัดอีเวนท์พิเศษไนไทย โชว์ ‘Project Origin’ แผนงานคืนชีพจักรยานยนต์คันประวัติศาสตร์ของแบรนด์ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง พร้อมจัดแสดงให้แฟนๆ Royal Enfield ทั่วโลกได้ชมกัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงประวัติศาสตร์ 123 ปีของแ

โดย: motortrivia.com

  • May 10 2024
  • 173
  • 2629 Views
Royal Enfield ‘Project Origin’ คืนชีพจักรยานยนต์คันแรก
Royal Enfield ‘Project Origin’

ภาพ : สุพรรณี ยังอยู่

●   Royal Enfield จัดอีเวนท์พิเศษไนไทย โชว์ ‘Project Origin’ แผนงานคืนชีพจักรยานยนต์คันประวัติศาสตร์ของแบรนด์ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง พร้อมจัดแสดงให้แฟนๆ Royal Enfield ทั่วโลกได้ชมกัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงประวัติศาสตร์ 123 ปีของแบรนด์ Royal Enfield และบอกเล่าเรื่องราวของ Project Origin ซึ่งส่งต่อแรงบันดาลใจและจิตวิญญาณที่ Royal Enfield มุ่งมั่นสร้างเครือข่ายนักบิด สะท้อนเอกลักษณ์ ‘Pure Motorcycling’ หรือ ‘จิตวิญญาณของการขี่ที่แท้จริง จนถึงปัจจุบัน

●   การใช้ tagline ‘Since 1901’ ภายใต้แบรนด์ Royal Enfield สะท้อนเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานของ Royal Enfield ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความมุ่งมั่น, ความทุ่มเท และความหลงใหลในโลกของรถมอเตอร์ไซค์ที่แบรนด์ยังคงยืนหยัดผลิตมอเตอร์ไซค์ที่มีเอกลักษณ์มาต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก

●   ปี 1901 จึงไม่ใช่แค่ปีที่ Royal Enfield ถือกำเนิด แต่ยังเป็นปีที่สร้างตำนานบทใหม่ให้กับวงการมอเตอร์ไซค์ที่ครองใจผู้รักการผจญภัย และหลงใหลในเสน่ห์ของรถมอเตอร์ไซค์มาจนถึงปัจจุบัน

Project Origin

●   Project Origin เกิดขึ้นจากความท้าทายที่ กอร์ดอน เมย์ (Gordon May) นักประวัติศาสตร์ของ Royal Enfield มอบโจทย์ให้กับทีมนักออกแบบและวิศวกรของ Royal Enfield ให้ช่วยสร้าง ‘รถมอเตอร์ไซค์คันแรก’ ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 1901 โดยผลงานความภาคภูมิใจนี้ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง จูลส์ โกเบียต (Jules Gobiet) วิศวกรชาวฝรั่งเศส และ บ็อบ วอล์คเกอร์ สมิธ (Bob Walker Smith) ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าแผนกออกแบบของ Royal Enfield

●   ในยุคแรกของวงการมอเตอร์ไซค์ ซึ่งยังไม่มีการจัดงานแสดงรถมอเตอร์ไซค์อย่างแพร่หลาย มอเตอร์ไซค์ต้นแบบของ Royal Enfield คันนี้จึงถูกนำไปจัดแสดงในงาน Stanley Cycle Show ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1901 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รถมอเตอร์ไซค์สองล้อจาก Royal Enfield ปรากฏโฉมต่อสาธารณชน

ประวัติศาสตร์บางส่วนที่ขาดหาย

●   อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของ Royal Enfield ยังคงมีบางส่วนที่ขาดหายไป นั่นทำให้ไม่สามารถสืบค้นหาแบบแปลนการออกแบบหรือภาพวาดทางเทคนิคต้นฉบับที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจนในการศึกษาการสร้างสรรค์รถมอเตอร์ไซค์คันนี้ได้ สิ่งที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงภาพถ่ายโบราณไม่กี่ภาพ หรือโปสเตอร์โฆษณาในยุคนั้น รวมถึงบทความประกอบภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ในปี 1901 จำนวน 2 – 3 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ นำไปสู่การสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเชิง การออกแบบและการทำงานที่อาจจะเป็นไปได้ของรถมอเตอร์ไซค์คันนี้เท่านั้น

●   ในส่วนของการออกแบบ หัวใจของความแตกต่างอยู่ที่ระบบเครื่องยนต์, การทำงานเชิงกลไก และหลักสรีรศาสตร์ โดยเครื่องยนต์ 1 ¾ แรงม้าของรถมอเตอร์ไซค์ต้นแบบนี้ ติดตั้งอยู่เหนือล้อหน้าบริเวณคอรถ ส่งกำลังไปยังล้อหลังด้วยสายพานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแนวคิดของ จูลส์ โกเบียต วิศวกรชาวฝรั่งเศส ตั้งใจออกแบบมาเพื่อลดอาการเสียศูนย์ทางด้านข้างที่มักเกิดขึ้นกับรถมอเตอร์ไซค์ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าในยุคนั้น

●   อีกหนึ่งจุดเด่นคือ การออกแบบตัวเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์แบบแนวนอนของ Royal Enfield ซึ่งแตกต่างจากเครื่องยนต์ทั่วไปที่มักแยกครึ่งแบบแนวตั้ง ข้อดีของการออกแบบทรงนี้คือช่วยป้องกันน้ำมันเครื่องรั่วไหลไปโดนล้อหน้า

●   สำหรับระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง Royal Enfield อาศัยคาร์บิวเรตเตอร์แบบ Longuemare spray ติดตั้งอยู่ด้านข้างถังน้ำมันซึ่งต่ำกว่าระดับฝาสูบ โดยมีท่อทางเดินความร้อนจากท่อไอเสีย เพื่อช่วยให้น้ำมันรักษาระดับความร้อน สำหรับระบบหล่อลื่น ผู้ขับขี่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นหยอดเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ด้วยปั๊มมือที่ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของสูบ โดยน้ำมันจะถูกเผาไหม้หมดภายในระยะทาง 10 – 15 ไมล์ (ราว 16 – 24 กิโลเมตร) ผู้ขับขี่จึงจำเป็นต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ

●   ฝาสูบมาพร้อมกับระบบวาล์ไอเสียแบบกลไกและวาล์อัตโนมัติ โดยวาล์อัตโนมัติจะปิดโดยสปริง และเปิดออกด้วยแรงดูด เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลง แรงดูดจะเปิดวาล์อัตโนมัติให้อากาศและน้ำมันไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ระบบจุดระเบิดอาศัยชุดจานจ่ายแบบตัดต่อ ส่งกระแสไฟไปยังหัวเทียน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้อยู่ในรอบต่ำ

●   การสตาร์ทเครื่องยนต์ใช้แรงปั่น หลังจากเครื่องยนต์ติด ผู้ขับขี่จะสามารถปรับคันเร่ง โดยเป็นการปรับเปิด-ปิดคาร์บิวเรตเตอร์ ควบคุมด้วยคันโยกทางด้านขวาของถังน้ำมัน สำหรับการลดความเร็ว ผู้ขับขี่จะใช้ลิฟท์วาล์วควบคุมการเปิด-ปิดวาล์ไอเสีย

●   ส่วนระบบเบรคของล้อหน้าเป็นแบบแบนด์เบรค ควบคุมด้วยมือซ้าย ล้อหลังก็ใช้เบรคแบบแบนด์เบรคเช่นกัน ทว่าควบคุมด้วยการถอยหลัง เบาะนั่งเป็นเบาะหนัง Lycette La Grande ล้อขนาด 26 นิ้ว สวมยาง Clipper 2 x 2 นิ้ว

●   ด้วยการออกแบบเครื่องยนตร์และสรีระของตัวรถทั้งหมด หัวใจสำคัญของ Project Origin อยู่ที่การผสมผสานองค์ความรู้ใหม่เข้ากับภูมิปัญญาอันเก่าแก่ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญได้รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์, ภาพถ่าย และภาพประกอบต่างๆ จากปี 1901 เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแบบจำลอง (CAD) ของชิ้นส่วนต่างๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปด้วยการหล่อหรือกลึงขึ้นใหม่ทีละชิ้น

●   ความท้าทายที่สำคัญอยู่ที่การผลิตถังน้ำมันทองเหลือง ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญสามารถประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นทองเหลืองเพียงแผ่นเดียว ด้วยการดัด, ขึ้นรูป และตอกอย่างประณีต ด้วยเครื่องมือโบราณที่แทบสูญหายไปจากกระบวนการผลิตในยุคปัจจุบัน โครงสร้างเฟรมแบบท่อของมอเตอร์ไซค์คันนี้ ได้รับการเชื่อมประสานด้วยทองเหลือง (brazing) อย่างพิถีพิถันโดยทีมงานของบริษัท Harris Performance

●   ชิ้นส่วนสำคัญอย่างก้านโยกและสวิทช์ ก็ล้วนผ่านการขึ้นรูปด้วยมือจากเนื้อทองเหลืองเช่นกัน นอกจากนี้ ชิ้นส่วนแท้สมัยต้นศตวรรษที่ 20 ที่สามารถรวบรวมมาได้ อาทิ โคมไฟ, แตร, เบาะหนัง และล้อ ได้รับการบูรณะและชุบนิคเกิลขึ้นใหม่เพื่อให้มอเตอร์ไซค์ Project Origin ดูราวกับว่าเพิ่งเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในงาน Stanley Cycle Show เมื่อปี 1901

อนุจ ดัว (Anuj Dua) หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ โรยัล เอ็นฟีลด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

●   อนุจ ดัว หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ โรยัล เอ็นฟีลด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Anuj Dua, Head of Business, Royal Enfield-APAC) กล่าวว่า “การนำ Project Origin มาอวดโฉมที่ประเทศไทย เพื่อแบ่งปันประวัติศาสตร์อันยาวนานของ Royal Enfield ที่เราภาคภูมิใจให้กับสาวก Royal Enfield ในประเทศไทยได้ร่วมชื่นชม การนำเสนอเรื่องราวนี้เราต้องการให้ผู้ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield ได้สัมผัสประวัติศาสตร์ด้วยตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่น่าสนใจและสำคัญมากสำหรับเรา เราเรียกประเทศไทยว่าเป็นบ้านหลังที่สองของ Royal Enfield ถัดจากอินเดียได้เลย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มลูกค้าชาวไทยและชุมชนมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเรา”

กอร์ดอน เมย์ (Gordon May) นักประวัติศาสตร์ของ Royal Enfield

●   กอร์ดอน เมย์ (Gordon May) นักประวัติศาสตร์ของ Royal Enfield กล่าวว่า “ทุกอย่างเริ่มต้นจากโชคชะตา ครั้งแรกที่ผมได้สัมผัสกับรถมอเตอร์ไซค์สัญชาติอังกฤษ มันคือรถมอเตอร์ไซค์ของ Royal Enfield นับจากนั้นมาก็เป็นความประทับใจต่อเนื่อง หลังจากนั้น ผมตัดสินใจออกเดินทางไกลด้วยรถมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield Bullet 350 เดินทางไปทั่วอินเดียและเนปาลเป็นเวลากว่า 5 เดือน ด้วยเอกลักษณ์ของรถ ผสานด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานของแบรนด์ เริ่มตั้งแต่สหราชอาณาจักร มายังอินเดีย และขยายตลาดสู่ระดับโลก นับเป็นการเดินทางที่น่าทึ่งของแบรนด์ ทั้งหมดล้วนเป็นแรงบันดาลใจไม่สิ้นสุดที่ทำให้ผมผูกพันกับ Royal Enfield มาจนถึงวันนี้”

●   กล่าวได้ว่า Project Origin นั้น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์ที่ Royal Enfield ยึดมั่นมาตลอดระยะเวลากว่า 123 ปี โดย ‘มอเตอร์ไซค์คันแรก’ คันนี้ เปรียบเสมือนรากฐานอันแข็งแกร่งของการเดินทางอันน่าทึ่งของ Royal Enfield การแบ่งปันเรื่องราวของ Project Origin ในประเทศไทยครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Royal Enfield ในการเชื่อมโยงผู้ที่หลงใหลในรถมอเตอร์ไซค์ของแบรนด์ให้เข้าถึงจิตวิญญาณ หรือ Pure Motorcycling อย่างแท้จริง

●   สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถรุ่นต่างๆ ของ Royal Enfield ในประเทศไทย เชิญได้ที่เว็บไซท์ : www.royalenfield.com/th หรือเฟซบุ๊ค แฟนเพจ : facebook.com/RoyalEnfieldThailand หรืออี-เมล : support.th@royalenfield.com หรือติดต่อ Call Center โทร : 02-026-1084 ●

Report : Royal Enfield ‘1901 Project Origin’

The post Royal Enfield ‘Project Origin’ คืนชีพจักรยานยนต์คันแรก appeared first on motortrivia.

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites