logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
เศรษฐกิจ

โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล “Digital Transformation Initiative of the Year 2024” จากเวที “Healthcare Asia Awards” ผลงานยกระดับการให้บริการดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน

“โรงพยาบาลพระรามเก้า” เดินหน้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ ยกระดับการให้บริการตอบรับความต้องการผู้รับบริการยุคดิจิทัล ผ่านการพัฒนา 3 องค์ประกอบสำคัญเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย คน–กระบวนการ–เทคโนโลยี พร้อมพัฒนาการให้บริการทั้งระบบโ


  • Mar 29 2024
  • 126
  • 7395 Views

โรงพยาบาลพระรามเก้าเดินหน้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ ยกระดับการให้บริการตอบรับความต้องการผู้รับบริการยุคดิจิทัล ผ่านการพัฒนา 3 องค์ประกอบสำคัญเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย คนกระบวนการเทคโนโลยี พร้อมพัฒนาการให้บริการทั้งระบบโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่ขั้นตอนก่อนรับบริการ, ระหว่างรับบริการ และหลังรับบริการ คว้ารางวัล  ‘Digital Transformation Initiative of the Year’ จากเวที Healthcare Asia Awards 2024 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเวทีอันทรงเกียรติที่เชิดชูความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมการแพทย์ระดับเอเชีย

นายแพทย์วิทยา วันเพ็ญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนในยุคดิจิทัลว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของผู้คนในทุกด้าน ทำให้การดำเนินธุรกิจในโรงพยาบาลจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ซึ่งแตกต่างจากการมาโรงพยาบาลแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง ผู้รับบริการในยุคดิจิทัลมีความคาดหวังที่จะได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ ลดระยะเวลาการอยู่ที่โรงพยาบาล รวมถึงเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ง่ายมากขึ้น โรงพยาบาลพระรามเก้า จึงมุ่งมั่นที่จะก้าวเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ พร้อมมอบบริการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการในปัจจุบัน

ในปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลพระรามเก้าได้ยกระดับการให้บริการในทุกมิติโดยเริ่มที่การปรับปรุงศูนย์ตรวจสุขภาพและขยายไปสู่การบริการในด้านอื่นๆซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการเหล่านี้ถูกพัฒนาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบหลักที่ตั้งอยู่บนความยั่งยืน 3 อย่าง ประกอบด้วยเรื่อง คนกระบวนการเทคโนโลยี

ในเรื่องบุคลากร เราพัฒนากรอบความคิดของคนทำงานให้พร้อมเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมเรื่องวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน ความคล่องตัว การเพิ่มศักยภาพและเพิ่มทักษะการทำงานที่สำคัญในอนาคต ไปจนถึงการให้ความไว้วางใจกันในองค์กร ขณะที่ด้านกระบวนการทำงาน เราได้เปลี่ยนจากแนวทางการทำงานแยกส่วนในรูปแบบเดิม มาใช้แนวทางการทำงานแบบ Agile ที่ทุกคนทุกแผนกต่างร่วมมือกันในลักษณะโปรเจกต์มากยิ่งขึ้น พนักงานทุกระดับมีส่วนในการตัดสินใจในองค์กร ส่วนองค์ประกอบด้านเทคโนโลยี ถูกนำมาใช้สนับสนุนเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้รับบริการ ที่ต้องการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลจากที่บ้าน ภายใต้ความปลอดภัยด้านข้อมูลที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งยังรองรับต่อข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางการแพทย์และข้อมูลที่ได้มาตรฐานด้วยนายแพทย์วิทยา กล่าวเสริม

การยกระดับบริการนี้ ดำเนินการภายใต้คอนเซ็ปต์การให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วย 2 มิติหลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสำหรับผู้รับบริการ และ การออกแบบระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานสำหรับผู้ปฏับัติงาน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการรับบริการให้กับผู้รับบริการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบหลังบ้าน และการเชื่อมต่อข้อมูลให้สนับสนุนการทำงานยิ่งขึ้น อีกทั้งด้านมิติของการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ยังถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. ก่อนเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล ผู้รับบริการสามารถเปิดประวัติ ทำนัดหมายการ เลือกแพ็คเกจสุขภาพ และลงทะเบียนล่วงหน้าทางออนไลน์ 
  2. ระหว่างเข้ารับบริการ เพียงแสดง QR Code ที่ลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้า ก็สามารถรับบริการจากโรงพยาบาลได้ทันที ช่วยลดขั้นตอน ลดการรอคอยที่โรงพยาบาล รวมถึงลดความแออัดในพื้นที่ อีกทั้งระหว่างขั้นตอนรับบริการจะมีระบบแจ้งเตือนและแสดงสถานะแต่ละขั้นตอนที่เชื่อมต่อกับระบบคิวอัตโนมัติคอยแจ้งเตือนทางแอปพลิเคชัน Line ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องรอคิวตรวจเฉพาะหน้าห้องตรวจแต่สามารถไปรับประทานอาหาร หรือรับบริการอื่น ๆ ในโรงพยาบาลได้ในระหว่างนั้น
  3. หลังเข้ารับบริการของโรงพยาบาล สามารถเข้าถึงผลการตรวจสุขภาพออนไลน์ได้ทันที พร้อมสามารถเข้าดูข้อมูลสุขภาพของตนเองได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง


การออกแบบการให้บริการนี้ ช่วยลดข้อจำกัดของบริการรวมศูนย์แบบดั้งเดิม โดยเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และนำการสนับสนุนจากเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกแทน และในขณะเดียวกัน การออกแบบระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานนี้ ยังได้พัฒนาไปพร้อมการออกแบบโครงสร้างหลังบ้านและการจัดเก็บข้อมูลที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน จนสามารถบูรณาการด้านการให้บริการดิจิทัลจากระบบหลังบ้านไปยังหน้างานได้อย่างราบรื่น

นายแพทย์วิทยา เสริมอีกว่า โรงพยาบาลพระรามเก้ายังมีการวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลไว้ โดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารด้านดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนความคิดริเริ่มการลงทุน และมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการให้บริการ รวมถึงพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลแก่บุคลากรทุกระดับ

การพัฒนาการให้บริการดังกล่าว ได้รับการยอมรับจากเวที Healthcare Asia Awards 2024 ทำให้โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้คว้ารางวัล ‘Digital Transformation Initiative of the Year’ รางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย เพื่อแสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาระบบการให้บริการอันเป็นมาตรฐานใหม่เพื่อการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการในยุคดิจิทัล และยกย่องถึงความมุ่งมั่นในการริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมอันเป็นคุณประโยชน์สำคัญให้กับสังคม

โรงพยาบาลพระรามเก้า มีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการปรับปรุงการให้บริการให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้รับบริการในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยเรามุ่งมั่นสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบนายแพทย์วิทยา ทิ้งท้าย

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites