logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
เศรษฐกิจ

ถึงเวลาตรวจสุขภาพไซเบอร์ประจำปี ‘เอไอเอส’ ออก ‘Digital Health Check’ ให้คนไทยใช้เช็กและรับวัคซีนภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์!

โลกออนไลน์ไม่ได้มีแค่แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่เป็นภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน แต่ยังมีการหลอกลวงอีกหลากหลายวิธี ที่วันนี้มิจฉาชีพได้หากลลวงมาหลวงลวง ที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล  ‘เอไอเอส’ ตระหนักถึงจุดนี้ดี จึงสร้างเครื่องมือให้คนไทยใช้ ‘เช็คภูมิคุ้มกันภัยไ


  • Aug 30 2024
  • 61
  • 8842 Views

โลกออนไลน์ไม่ได้มีแค่แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่เป็นภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน แต่ยังมีการหลอกลวงอีกหลากหลายวิธี ที่วันนี้มิจฉาชีพได้หากลลวงมาหลวงลวง ที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล

 ‘เอไอเอส’ ตระหนักถึงจุดนี้ดี จึงสร้างเครื่องมือให้คนไทยใช้ ‘เช็คภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์’ พร้อมกับสามารถรับ ‘วัคซีนป้องกัน’ ให้รู้เท่าทันการใช้งานดิจิทัล


ความเสียหายสะสมแตะ 7 หมื่นล้าน!

จากการเปิดเผยของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า นับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 มีการแจ้งความอาชญากรรมไซเบอร์ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด 612,603 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 69,186 ล้านบาท เฉลี่ยความเสียหายวันละกว่า 78 ล้านบาท

เมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า เหยื่อคดีอาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่เป็น ผู้หญิง (64%) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 22-59 ปี มากที่สุด ขณะที่ 5 คดีที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่

  • หลอกลวงซื้อสินค้าและบริการ 9 แสนคดี ความเสียหายกว่า 4 พันล้านบาท
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 2 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท
  • หลอกให้กู้เงิน 3 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 3.1 พันล้านบาท
  • หลอกให้ลงทุน 5 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท
  • แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ 2 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 9 พันล้านบาท


Digital Health Check = การตรวจสุขภาพดิจิทัลประจำปี

จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์กำลังเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน และ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัล จึงได้ออก Digital Health Check เครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ อีกทั้งจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันด้วยหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสม

Digital Health Check ก็เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพประจำปี และรอฟังผลได้เลยว่าเราอยู่ในระดับไหน ซึ่งเอไอเอสจะมีวัคซีนที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะหลักที่ย่อยง่าย เช่น ละครคุณธรรม, การ์ตูน เป็นต้น” สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าว


คนไทยเกินครึ่งยังขาดความเข้าใจ

นอกเหนือจาก Digital Health Check แล้ว ทาง AIS ยังได้จัดทำ Thailand Cyber Wellness Index ที่ AIS ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการในการจัดทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นหนึ่งในชุดข้อมูลสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและความเข้าใจการใช้งานและรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่

  • การใช้ดิจิทัล
  • ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
  • การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
  • การรู้เท่าทันดิจิทัล
  • ความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
  • การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล

การแสดงความสำพันธ์ทางดิจิทัล

สำหรับผลการศึกษาในปีนี้ จากกลุ่มตัวอย่างทุกเจนเนอเรชั่น จำนวน 50,965 ราย ใน 77 จังหวัด พบว่า คนไทยมีความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลเพิ่มขึ้น แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับ พื้นฐาน (46%) ขณะที่กลุ่มที่มีความรู้ระดับสูงอยู่ที่ 35.5% และกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง 18.5% ขณะที่กลุ่มวัยที่เสี่ยงที่สุด ได้แก่ เด็กอายุ 10-15 ปี และ ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลที่สุดคือ คนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็น ความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่าน รวมถึงยังไม่ทราบว่า การเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น

ในแกนการสร้างวิสดอม เราจะมีการสื่อสารที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะเราต้องการนำเครื่องมือนี้เข้าสู่ประชาชนมากขึ้นเพื่อให้คนรู้ว่ามีภูมิแค่ไหน เพราะเป็นภัยใกล้ตัวมาก ดังนั้น ไม่ใช่แค่ร่วมกับโรงเรียนที่เราทำร่วมกับสพฐ. และกทม. แต่เราคุยกับกระทรวงพม. เพื่อนำตรงนี้เข้าไปสู่ประชาชนให้มากที่สุด


ไม่ใช่แค่ให้ความรู้ แต่ใช้เทคโนโลยีช่วยสกัดด้วย

นอกจากการเผยแพร่องค์ความรู้แล้ว AIS ยังมีสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยนับตั้งแต่ให้บริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการกว่า 2 ล้านสาย นอกจากนี้ AIS ยังมีบริการ AIS Secure Net โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถบล็อกเว็บไซต์อันตรายไปแล้วกว่า 16.57 ล้านครั้ง บล็อกเว็บไซต์ปลอม 940,267 เว็บไซต์ และในปีนี้ AIS ให้ ลูกค้า AIS ใช้บริการ AIS Secure Net ฟรี 12 เดือน โดยกด *689*6#

นอกจากนี้ ยังเพิ่มเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG โดยจะช่วยปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในราคาเดือนละ 39 บาท โดยกด *689*10# โทรออก เพื่อสมัคร

“ที่ผ่านมาเรามีการร่วมมือกับทั้งกรมตำรวจ กระทรวงดีอี นำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกสัญญาณตามแนวตะเข็บชายแดน, การลงทะเบียนซิม ดังนั้น AIS จะไม่หยุดแค่การสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี แต่ AIS จะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการป้องกันมากขึ้น โดยปีหน้าเราจะยกระดับเน็ตเวิร์กให้ปลอดภัยกว่าเดิม” สายชล ทิ้งท้าย

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites

image