logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
สุขภาพ

ออฟฟิศซินโดรม? "อาการปวดแบบไหน...ไม่ควรมองข้าม !!"

แน่นอนว่าอาการปวดคอบ่าไหล่นั้นเป็นอาการหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่หารู้ไม่ว่ายังมีโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ส่งผลทำให้เกิดการเข้าใจผิด และละเลยมองข้าม ปล่อยให้อาการนั้นๆเป็นเรื้อรัง จนส่งผลให้เกิดอันตราย และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดได้

โดย: Easy Branches Team

  • Oct 16 2020
  • 208
  • 6679 Views

แน่นอนว่าอาการปวดคอบ่าไหล่นั้นเป็นอาการหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่หารู้ไม่ว่ายังมีโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ส่งผลทำให้เกิดการเข้าใจผิด และละเลยมองข้าม ปล่อยให้อาการนั้นๆเป็นเรื้อรัง จนส่งผลให้เกิดอันตราย และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดได้ หมอจึงมีความเห็นว่า มีความสำคัญที่เราควรจะต้องรู้อาการบางอย่างที่คล้ายกัน แต่เกิดจากโรคอื่นๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าตนเองนั้นอาจจะไม่ได้เป็นออฟฟิศซินโดมเท่านั้น แต่อาจจะเป็นโรคอื่นที่ควรจะรีบได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพ ที่อาจเกิดขึ้นได้

“อาการที่สำคัญดังกล่าวมีอะไรบ้าง”

  1. ชา อาการชาเป็นหนึ่งในอาการหลักที่มักจะทำให้เกิดความสับสนระหว่างโรคออฟฟิศซินโดมและโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท โดยตำแหน่งและเวลาที่ทำให้เกิดอาการชานั้นมีความสำคัญในการวินิจฉัย หากผู้ป่วยมีอาการชาเป็นมากขึ้นและร้าวลงไปตั้งแต่ต้นแขนถึงปลายแขน บางรายอาจชาไปถึงบริเวณนิ้ว และชาในเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจมาจากกระดูกคอเสื่อมได้ ควรจะรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้อง
  2. ปวด หากอาการปวดมีลักษณะและบริเวณเปลี่ยนไป เช่นปวดบริเวณด้านหน้าของหัวไหล่ร้าวไปที่แขนหรือบริเวณหน้าอกข้างซ้ายอาการเหล่านี้อาจจะมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ บางครั้งอาการปวดอาจสัมพันธ์กับท่าทาง เช่นการยกแขนขึ้นหรือการหันคอไปทางซ้ายหรือขวา กระตุ้นให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่สะบักหรือปวดร้าวลงแขน อาการเหล่านี้อาจเกิดจากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทได้
  3. อ่อนแรง อาการอ่อนแรงปกติแล้วโรคออฟฟิศซินโดมจะมาจากผลของการเมื่อยล้า ทำให้ทำงานได้ไม่ถนัด เกิดความรำคาญ แต่หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงบางชนิดร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถที่จะเขียนหนังสือได้ถนัด, ลายมือเปลี่ยนไป หรือจับแก้วน้ำได้ไม่แน่นเหมือนเดิม จัดเป็นอาการสำคัญที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
  4. เดินเซ หากเริ่มมีอาการเดินไม่มั่นคง เดินขาถ่างหรือกางออกมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว มีเพื่อนหรือคนที่บ้านทัก จัดเป็นอาการที่สำคัญ เพราะผู้ป่วยเริ่มเดินลักษณะดังกล่าวเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการเดิน แสดงถึงเส้นประสาทบริเวณคออาจมีการถูกกดทับอยากมากได้ จำเป็นต้องรีบได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน

ดังนั้นหากเราหมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่ามีอาการที่ต้องควรระวังหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นได้อย่างมาก สุดท้ายนี้หมอหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้ เพื่อนำไปสังเกตและดูแลตนเองไม่มากก็น้อยนะครับ วันนี้ลาไปก่อนสวัสดีครับ

----------------------------------------------------------------

บทความโดย : นพ.เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

โทร 02-836-9999 ต่อ 2621-2

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites

image