เทคโนโลยี
‘เฉือนตอนฉ่ำ’ หุ่นยนต์เกษตรสุดล้ำ ช่วยเก็บสตรอเบอร์รี
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้มาถึงจุดที่เกษตรกรสามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ทั้งถูกใจผู้บริโภค ในราคาที่ดีสุดซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากคุณภาพ และหนึ่งในตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ว่านี้ก็คือ ธุรกิจปลูกสตรอเบอร์รีในสหรัฐฯ คว
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้มาถึงจุดที่เกษตรกรสามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ทั้งถูกใจผู้บริโภค ในราคาที่ดีสุดซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากคุณภาพ และหนึ่งในตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ว่านี้ก็คือ ธุรกิจปลูกสตรอเบอร์รีในสหรัฐฯ
ความหวานฉ่ำและรสชาติเปรี้ยวอมหวานของสตรอเบอร์รีที่สุกกำลังดี คือสิ่งที่ผู้บริโภคมองหา และในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสตรอเบอร์รีที่สำคัญของสหรัฐฯ ปัจจุบัน เหล่าเกษตรกรกำลังหันมาใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด
ฮวน บราโว ผู้ก่อตั้ง บริษัท อโกรบอต (Agrobot) เป็นผู้สร้าง “หุ่นยนต์การเกษตร” ที่มีความสามารถเก็บเกี่ยวสตรอว์เบอร์รีได้อย่างนุ่มนวล โดยใช้เซ็นเซอร์และกล้องช่วยเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความสุกของสตรอว์เบอร์รีทีละลูก จากนั้น แขนกลที่ถูกโปรแกรมไว้จะเก็บเกี่ยวพืชผลแบบไม่รบกวนกิ่งก้านของลูกที่ยังไม่สุกเต็มที่
บราโวให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า “ผลสตรอเบอร์รีจะสุกจากล่างขึ้นบน ช่วงปลายด้านล่างจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ขณะที่ส่วนอื่นของผลยังคงเป็นสีเขียว ขนาดของลูกจะค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น” โดยเขาเสริมว่า มีการประเมินสัดส่วนระหว่างสีแดงและสีเขียวทีละผล โดยลูกสตรอเบอร์รีที่ต้องการมักจะมีสัดส่วนของสีแดงประมาณ 90% และสีเขียว 10%
โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก ๆ 10 วินาที หุ่นยนต์จะสามารถเก็บสตรอว์เบอร์รีได้ 1 ผล ดังนั้น ในเวลาสาม เครื่องจักรนี้จะช่วยเก็บสตรอว์เบอร์รีได้ถึงประมาณ 50 ไร่เลยทีเดียว
บราโว่ เผยถึงเคล็ดลับสำคัญในการเก็บเบอร์รีสีแดงนี้ ว่าจะต้องไม่ไปแตะที่บริเวณผิว “ไม่ว่ากรณีใด ๆ เราไม่อยากสัมผัสผิวของลูกสตรอเบอร์รี พืชผลที่เก็บได้จะไม่ถูกปนเปื้อน ทั้งจากเชื้อราความชื้น รวมถึงเชื้อไวรัสต่าง ๆ”
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้การเก็บเกี่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น คือการใช้ “หุ่นยนต์กำจัดศัตรูพืช” คอยวิ่งดูดแมลงออกจากพุ่มไม้ โดยไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง และที่สำคัญ ไม่สร้างความบอบช้ำหรืออันตรายให้กับผลผลิตด้วย
แมตต์ คอนรอย ผู้จัดการเขต บริษัท กูด ฟาร์มส์ (Good Farms) มองว่า หุ่นยนต์ไม่ได้มาแย่งงานมนุษย์ และแสดงความชื่นชมว่า เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานแบบไม่มีความเหน็ดเหนื่อยด้วย
เขาระบุว่า “สำหรับอุตสาหกรรมดังกล่าว เรามีแรงงานไม่เพียงพอ ในแต่ละปีต้องจ้างคนเพิ่ม ราว 15 ถึง 20%” ด้วยเหตุนี้ ทางออกของปัญหาขาดแคลนแรงงาน คือ การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาเสริม ช่วยเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว
นอกจากนี้ คอนรอยยังตั้งใจที่จะดัดแปลงหุ่นยนต์การเกษตรเพื่อใช้เก็บเกี่ยวพืชผลประเภทอื่น ๆ ในอนาคตอีกดวย
ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ในปี 2020 เกษตรกรสหรัฐฯ ผลิตสตรอเบอร์รีออกมามีมูลค่าสูงถึง 2,200 ล้านดอลลาร์และผลผลิตส่วนใหญ่มาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย
ที่มา: รอยเตอร์