รายได้ สวนกระแสในยุค new normal
ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้ านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ( CITE DPU) เปิดเผยว่า สถานการณ์ Digital disruption และ การระบาดของ Covid-19 ก่อให้เกิดนิยาม new normal หรือ การดำเนินชีวิตในรูปแบบ ปกติใหม่ ซึ่งเชื่อได้ว่าทุกคนได้ซึมซับ หรือผ่านการดำเนินชีวิตในลั กษณะดังกล่าวมาแล้วสักระยะหนึ่ง และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่ าความปกติใหม่นี้มีความต้ องการทักษะด้านดิจิทัล (digital skills) ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การใช้งานสื่อออนไลน์เพื่ อการทำงานต่าง ๆ การทำงานจากระยะไกล การย้ายการประมวลผลไปใช้ งานระบบคลาวด์มากขึ้น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้งานแอพพลิเคชันผ่านโทรศั พท์มือถืออย่างกว้างขวาง การป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มี ความสามารถทางด้านทักษะดิจิทั ลที่มีความสามารถสูง เช่น วิศวกรคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักการตลาดดิจิทัล นักวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากแทบจะไม่ได้รั บผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวข้ างต้นแล้ว แต่ยิ่งกลับได้รับผลตอบแทนที่สู งมากขึ้นอีกด้วย
ดร.ชัยพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากเว็บไซต์ JobDB ระบุสายงานที่มีทักษะด้านไอที และด้านดิจิทัล มีรายได้อยู่ระหว่าง 20,000 – 100,000 บาท สำหรับนักศึกษาจบใหม่ โดยขึ้นอยู่กับคุณวุฒิและความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล ทั้งยังเป็นทักษะแรงงานที่นายจ้ างมีความต้องการมากขึ้นด้วย ดังนั้น อาชีพที่มีการใช้ทักษะทางดิจิทั ลและคาดว่าเป็นแนวโน้มที่ ควรจะวางแผนศึกษาหรือ reskill/upskill กันไว้ เพื่อตอบรับกับความต้ องการของตลาดแรงงานในยุค new normal ประกอบด้วย 8 สายงานอาชีพด้วยกัน ได้แก่
นักวิเคราะห์ตลาดออนไลน์ คือ ผู้ที่เข้าใจรูปแบบพฤติ กรรมของลูกค้า ช่องทางสื่อออนไลน์ และวิธี การวางแผนการตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต้องการผู้ที่มี ความเข้าใจรูปแบบสื่อออนไลน์ที่ มีมากมายหลายสื่อ เช่น เฟสบุค ยูทูบ อินสตาร์แกรม ไลน์ เป็นต้น โดยแต่ละสื่อก็มีวิธีการสื่อสาร และกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน
โปรแกรมเมอร์และวิศวกรซอฟต์แวร์ เป็นอาชีพที่สุดฮอตอาชีพหนึ่ง เพราะเราจำเป็นต้องใช้งานแอพพลิ เคชั่นต่าง ๆ ทั้งจากเว็บ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ เพื่อทั้งการทำงาน การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นโปรแกรมเมอร์จึงเป็นอาชี พที่ขาดไม่ได้ในการสร้างสรรค์ แอพพลิเคชันต่าง ๆ เหล่านี้
วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้ องการมากอีกอาชีพหนึ่ง กล่าวได้ว่าผลิตมาเท่าไรก็ไม่ พอป้อนตลาดที่มีความต้องการสู งมากในปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องมีบุคลากรไว้คอยดูแล แก้ปัญหา หรือสร้างระบบหรือโปรแกรมคอมพิ วเตอร์เพื่อการทำงานต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผลคลาวด์หรืออินเทอร์ เน็ต
วิศวกรด้านความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์ ค่อนข้างจะเป็นอาชีพใหม่สำหรั บประเทศไทย แต่มีความต้องการสูงมาก เนื่องจากความเสียหายที่เกิ ดจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์หรื ออินเทอร์เน็ตมีจำนวนและมูลค่ าสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องสร้ างความเชื่อมั่นในการใช้ งานระบบเหล่านั้นได้อย่างปลอดภั ย ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ข้อมูลและวิศวกรข้ อมูล อาชีพนี้หลายคนอาจยังไม่รู้จัก แต่ยืนยันได้เลยว่าเป็นอาชีพที่ มีรายได้สูงมากอีกอาชีพหนึ่ง เนื่องจากหลาย ๆ หน่วยงานเริ่มรู้จักที่จะใช้ ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริ การที่สามารถตอบสนองความต้ องการของลูกค้าและสร้ างโอกาสในการทำกำไรของหน่ วยงานได้มากขึ้นนั่นเอง จึงจำเป็นต้องมีนักวิเคราะห์ข้ อมูลและวิศวกรข้อมูลเพื่ อมาทำหน้าที่เหล่านี้ต่อไป
วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่ นยนต์ กล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็นการมีบทบาทของปั ญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในชีวิ ตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้ องการสร้างปัญญาประดิษฐ์และหุ่ นยนต์จึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจอย่ างมากในระยะยาว
นักโลจิสติกส์ เป็นอาชีพที่ดูจะไม่เกี่ยวกับทั กษะทางดิจิทัล แต่จริง ๆ แล้วเราจะพบว่าในปัจจุบันมี การใช้งานระบบออนไลน์เพื่อการสั่ งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่ ามากกว่าการจำหน่ายในช่องทางหน้ าร้านในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งการสร้างระบบโลจิสติกส์ที่ ดีจำเป็นต้องบูรณการกั บระบบออนไลน์หรือระบบคอมพิ วเตอร์ มีการวางแผนที่ดีเพื่อลดการสั่ งซื้อสินค้ามาสต๊อกไว้ หรือแม้แต่การสร้างระบบการผลิ ตตามการสั่งสินค้าของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ ยวชาญด้านนี้เป็นอย่างมาก
ผู้บริหารที่มีความสามารถทางด้ านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญมากคื อ ปัจจุบันประเทศไทยได้มี การออกกฎหมายต่าง ๆ เพื่อควบคุมกำกับการใช้ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ข้อมูลต่าง ๆ เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์ กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริ หารต้องเข้าใจหลักปฏิบัติหรื อแนวทางที่ถูกต้อง
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เข้าใจบริบทของการเปลี่ ยนแปลงและความต้องการบุคลากรที่ มีทักษะด้านดิจิทัลต่าง ๆ และเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ ยนแปลงในยุค new normal จึงจัดหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีคุณภาพให้สอดรับกับบริบทที่ เปลี่ยนแปลงไป ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้ อมูล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมั ติ วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ วิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ การจัดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการทางวิศวกรรม ซึ่งผู้สนใจสามารถดูรายละเอี ยดได้ที่ cite.dpu.ac.th ///..