logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
วาไรตี้

วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58 กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง” (3) เวอร์ชั่น “การพูด”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 428 ระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2567 หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58  กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง (3) เวอร์ชั่น “การพูด”             ถึงคิว “กูรู


  • Apr 19 2024
  • 120
  • 5434 Views
วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58 กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง” (3) เวอร์ชั่น “การพูด”
วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:5

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 428 ระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58 

กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง (3) เวอร์ชั่น “การพูด”

            ถึงคิว “กูรูหนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม” มาเล่าและถกถึงประเด็น ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้องจากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับเรื่อง “การพูด” โดยเฉพาะการตอบคำถามหรือคำสัมภาษณ์ใด ๆ บนเวทีหรือห้องดำ/ห้องเย็น ที่พบเจอทั้งถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ และ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง

            ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ

1.แพทเทิร์นเกินไปไม่พอดี : กรรมการอาชีพอย่างกูรูหนุ่มจะรู้สึกว่า ธรรมดา ไม่ว้าว! ไม่อะเมซิ่ง!หากเจอผู้เข้าประกวดตอบคำถามแบบ เป็นไกด์นำเที่ยว ข้อมูลเป๊ะเวอร์ ไม่ขาดตกบกพร่องใด ๆ เลย แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่กรรมการตัดสินนางงามมืออาชีพ อาจจะชอบตบมือสนั่นลั่นงาน ซึ่งต้องเข้าใจว่าบริบทคือ การตอบคำถามบนเวที ไม่ใช่ไกด์นำเที่ยว ก็ต้องตอบตรงประเด็นและรักษาเวลา อย่างเวทีตามต่างจังหวัด อาทิ งานวัดต่าง ๆ นางงามจะตอบแบบภาษาพี่กะเทยพูดกันคือ ย้วยหรือลำไย เนื่องจากไม่มีการจำกัดเรื่องเวลา รอจนกว่านางงามพูดจบ ไม่ว่าเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่พูดแพทเทิร์นเดียวกันหมด จนนึกว่ามานั่งฟังบรรยายประเพณีหรือประวัติศาสตร์ชาติไทย เช่น วันสงกรานต์ ในงานประกวดเทพีสงกรานต์ และ วันลอยกระทง ในงานประกวดนางงามนพมาศ ไม่เหมือนเวทีใหญ่แก้ปัญหานางงามพูดลำไย ด้วยการกำหนดเวลาเสียให้รู้แล้วรู้รอด 30 วินาที หรือ 1 นาที ก็ว่าไป หากคุณพูดเกินเวลาก็ถูกตัดเสียงทันที คะแนนก็หายไป

หมายเหตุ : สังเกตไหมว่า นางงามหน้าตาสวย ๆ มักช็อตไมค์หรือตายไมค์ในการตอบคำถามรอบสุดท้าย (แบบลุ้นไม่ขึ้น) อยู่บ่อยครั้งไป ต้องกลายไปเป็นนางรอง ปล่อยให้นางงามพูดเก่งแต่สวยน้อยกว่า กลายเป็นม้านอกสายตา ค้านสายตาผู้ชม สอยมงไปอย่างน่าเสียดาย (แต่คนสวยบางเวที ถ้าเจ้าของเวทีเขาต้องการจะเอามามง ตอบเพลียอย่างไรก็ได้มงอยู่ดี)

หัวใจ : ไม่ต้องเอาประวัติมาเล่า เข้าตรงประเด็น เป็นผู้รักษาเวลา

2.เชียร์เวทีออกนอกหน้า : เวลาแนะนำเรื่องการพูดให้กับน้อง ๆ หนึ่งในหลักสำคัญคือ จะต้องพูด “ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป” นอกจากจะใช้กับข้อ 1. ที่กล่าวมาแล้ว ยังนำมาใช้กับข้อ 2. ได้อีกด้วย สำหรับน้อง ๆ ผู้เข้าประกวดที่ไม่มีเทรนเนอร์ด้านการพูด กูรูหนุ่มขอแนะนำในหัวข้อนี้คือ ไม่ต้องเชียร์เวทีที่เราเข้าประกวดแบบมากจนเกินไป จะทำให้ดูไม่จริงใจ ภาษาหยาบ ๆ คือ ตอแหล พูดเพื่อหวังคะแนนความนิยม หรือคะแนนพิศวาสจากเจ้าของเวที ซึ่งเขาดูออกว่า โอเคหรือไม่โอเค หรือไม่เชียร์เวทีเขาเลย แบบนี้ก็แย่ไปหน่อย เหมือนเราไปสมัครงาน แต่เราไม่เคยพูดถึงองค์กรหรือบริษัทเขาเลย อันนี้ก็เกินไป

             หัวใจ : รู้กาลเทศะ มีศิลปะในการพูดดี ไม่มีเกินจริง

3.เป็นแม่ค้าไม่ทำการบ้าน : การจัดประกวดในทุกเวทีล้วนมีค่าใช้จ่าย ทางออกที่สำคัญคือ การหาสปอนเซอร์มาช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่าย รวมถึงเวทีมีสินค้าและบริการเป็นของตัวเอง เพื่อหารายได้เสริมมาช่วยเวทีอีกทางหนึ่ง ผู้เข้าประกวดที่อยู่เป็นก็จะรีบซื้อสินค้าและใช้บริการต่าง ๆ ที่เวทีประกวดนั้น ๆ เพื่อหวังทำคะแนน นั่นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เราจะมาอยู่บ้านเขา ก็อย่านิ่งดูดาย อะไรที่ช่วยได้ก็ควรช่วย แต่จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ถูกใจ หากเราไม่ทำการบ้าน ศึกษารายละเอียดสินค้าและบริการของเขาให้ดี ๆ อาจกลายเป็นดาบสองคม ถ้าไปนำเสนอข้อมูลเขาผิด ๆ สร้างความเสียหายไปเลย โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว

              หัวใจ : หมั่นทำการบ้านอย่างยิ่ง รู้จริงรู้ลึกรู้ชัด หัดเป็นนักธุรกิจคิดค้าขาย

ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง

1.ขายขำแต่เจ้าของขำไม่ออก : สังเกตว่า มีผู้เข้าประกวดบางคนพยายามทำคอนเทนต์ให้ดูตลกขบขันผ่านโซเชี่ยลมีเดียบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ แต่บางเรื่องเจ้าของเวทีเขาไม่ขำด้วย เพราะไปเอาปมด้อย ข้อเสีย ข้อบกพร่อง ของเขาหรือเวทีหรือสินค้ามาล้อเล่นด้วยความคึกคะนองแบบผีเจาะปาก ประทานโทษ! เจ้าของเวทีเขาไม่สนุกด้วยหรอกนะ หากผิดพลาดไปต้องรีบขอโทษขออภัยทันที และสัญญาว่าจะมีสติยั้งคิดไม่ทำผิดซ้ำซากอีก

หัวใจ : รับผิดชอบสิ่งที่ทำ ขำถูกที่ถูกทาง ไม่สร้างรอยร้าว

2.ตอกย้ำสร้างกระแสดราม่าอย่างสร้างสรรค์ : ปฏิเสธไม่ได้ว่า การประกวดต่าง ๆ นานาในยุคนี้นิยมใช้กระแสดราม่าปูทางให้ผู้คนรู้จักผู้เข้าประกวดและเวทีการประกวด ผ่านคอนเทนต์ในโซเชี่ยลมีเดียบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ แน่นอนการสร้างดราม่าผ่านคำพูดจะนิยมมากกว่าผ่านกระทำ บางครั้งดูนอกกรอบกลายเป็นที่ถูกอกถูกใจแฟนนางงาม แต่อาจไม่ถูกต้องตามหลักการสักเท่าไหร่ แบบนี้จะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับทั้งแฟนนางงามผ่านยอดไลก์ยอดแชร์  และทั้งดุลยพินิจเจ้าของเวทีด้วย

            หัวใจ : สร้างกระแสดราม่าให้ถูกที่ สร้างการจดจำที่ดีให้ทุกทาง

3.รู้เท่าทันเจ้าของเวที : ยุคนี้เป็นยุคที่ดูเหมือนว่าเจ้าของเวทีจะเป็นผู้เลือกนางงามมากกว่าที่จะเป็นคณะกรรมการ ดังนั้นนางงามรวมทั้งกุนซือของนางงาม ควรที่จะมุ่งมั่นเรียนรู้นิสัยใจคอเจ้าของเวทีให้แบบถึงกึ๋นกันเลยทีเดียว หลายครั้งนางงามบางคนที่ผ่านเข้ารอบลึกไปถึง 3 คน หรือ  5 คน ไม่ได้สวยบาดตา เก่งบาดใจ แต่เธอทำการบ้านมาดีคือ รู้ใจเจ้าของเวทีว่า ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร พร้อมทำทันที เจ้าของเวทีเกิดถูกใจมองข้ามผ่านความถูกต้องไป สวยน้อยหน่อยไม่เป็นไร เอาไปทำศัลยกรรมความงามได้ เดินไม่ค่อยสวยเดี๋ยวให้กูรูสอนเดินได้ พูดไม่เก่งเอาไปฝึกพูดทีหลังได้ เป็นต้น บางคนกลายเป็นม้ามืดขึ้นทางด่วนไปคว้ามงเลยก็มี

             หัวใจ : มุ่งมั่นก้าวไกล นั่งในใจเจ้าของเวที พร้อมที่จะทำงาน

            …ลองเอาไปคิดพิจารณาและลองทำดูนะครับ อย่างน้อยแม้จะไปไม่ถึงพระจันทร์ แต่ก็ภูมิใจที่ได้อยู่ท่ามกลางดวงดาวครับ!!!

เรื่อง : นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม

เรียบเรียง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 428 ระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58 

กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง (3) เวอร์ชั่น “การพูด”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๒๘ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ เมษายน ๒๕๖๗

https://book.bangkok-today.com/books/ksnb/#p=33

(พลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

 

The post วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:58 กูรูหนุ่ม นันท์นภัทร เล่าเรื่อง “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง” (3) เวอร์ชั่น “การพูด” first appeared on สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์.

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites