เดอะวิสดอมกสิกรไทย เจาะลึก 4 เครื่องมือวางแผนมรดก ลดภาระภาษี ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดสัมมนา “THE WISDOM Wealth Decoded ในหัวข้อ รู้ลึก รู้ทันภาษี (มรดก) ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน” โดย อาจารย์จรัญญา แสงสุขดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แท็กซ์ สเปเชียลลิสท์ จำกัด และนางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผ
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดสัมมนา “THE WISDOM Wealth Decoded ในหัวข้อ รู้ลึก รู้ทันภาษี (มรดก) ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน” โดย อาจารย์จรัญญา แสงสุขดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แท็กซ์ สเปเชียลลิสท์ จำกัด และนางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเจาะลึกถึง 4 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินและส่งต่อมรดก พร้อมใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับคนรุ่นต่อไป
อาจารย์จรัญญา แสงสุขดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แท็กซ์ สเปเชียลลิสท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการสินทรัพย์และวางแผนภาษี ให้คำแนะนำว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินและส่งต่อมรดก มีขั้นตอนเบื้องต้น คือ การสำรวจทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ โดยทำบันทึกจัดแบ่งประเภทสินทรัพย์ และแจกแจงว่าสินทรัพย์ใดที่มีผู้ถือครองแทน โดยทรัพย์สินมรดกที่ต้องเสียภาษีมรดก เป็นทรัพย์สินที่จดทะเบียน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร 2) หุ้นหรือหลักทรัพย์ รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล 3) เงินฝากในสถาบันการเงิน และ 4) ยานพาหนะที่จดทะเบียน ส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำประกันชีวิต ทองคำแท่ง ธนบัตร เครื่องเพชร ของสะสมต่างๆ เช่น ภาพเขียน นาฬิกา จากนั้นจึงลงรายละเอียดภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาษีถือเป็นต้นทุนที่ต้องบริหารจัดการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยภาระภาษีที่เกี่ยว ข้อง เช่น ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมรดก ภาษีรับให้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีธุรกิจเฉพาะ
นางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การวางแผนมรดกเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินและการสืบทอดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินและผู้ได้รับมรดกสามารถวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถผสมผสานควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์
4 เครื่องมือวางแผนมรดก ลดภาระภาษี
อาจารย์จรัญญา กล่าวว่า การวางแผนส่งมอบความมั่งคั่ง เป็นการจัดสรรและมอบสินทรัพย์ให้กับลูกหลาน หรือบุคคลอื่นที่ตนเองต้องการ เพื่อให้มั่นใจว่า สินทรัพย์ทั้งหมดจะได้รับการสืบทอดตามเจตนารมณ์ของเจ้าของสินทรัพย์โดยเครื่องมือที่ใช้ในการส่งต่อมรดก มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) พินัยกรรม 2) จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง 3) ยกให้ระหว่างมีชีวิต และ 4) ประกันชีวิต
1) พินัยกรรม เป็นการจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น “บุคคล” ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรรมในการรับมรดก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมพินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบ คือ 1) พินัยกรรมแบบธรรมดา 2) พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง และ 4) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5) พินัยกรรมที่ทำขึ้นขณะที่อยู่ในต่างประเทศ
อาจาย์จรัญญา กล่าวถึงภาษีการรับมรดกที่กำหนดให้ผู้รับมรดกจากบิดามารดาเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการรับมาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ตาม ในขณะที่การรับมรดกจากผู้อื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่เกิน 100 ล้านบาท จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตรา 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน
2) จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับธุรกิจครอบครัว ด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือถือครองทรัพย์สิน โดยมีรายได้คือเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ โดยรายได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทในเครือ ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน
สำหรับรูปแบบนี้ อาจารย์จรัญญา ให้คำแนะนำว่า สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจครอบครัวในการวางแผนจัดการมรดก คือ การจัดโครงสร้างการประกอบธุรกิจให้เหมาะสมกับธุรกิจครอบครัว ควรตรวจสอบเอกสารกำหนดข้อบังคับของบริษัท ทั้งหนังสือรับรองบริษัท วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท ข้อบังคับบริษัท และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการในการส่งต่อธุรกิจ
นอกจากนี้ การจัดทำธรรมนูญครอบครัว เป็นอีกวิธีที่ควรทำ โดยถือเป็นการบริหารทรัพย์สินของกงสี ซึ่งเป็นเอกสารของครอบครัวที่ต้องวางหลักการ กฎ กติกา ของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจน โดยธรรมนูญครอบครัวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ต้อง “เชื่อมโยง” กฎหมาย และ “สัมพันธ์” ภาษีให้ใช้งานได้จริง และสามารถกำหนดกระบวนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว และส่งผลทำให้ธุรกิจของครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคง
3) ยกให้ระหว่างมีชีวิต “การให้” เป็นการยกทรัพย์สินให้แก่ผู้รับในขณะที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ โดยมีภาษีการรับให้ (Gift Tax) สามารถทยอยโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ได้ปีละ 20 ล้านบาท/ต่อคน/ปี โดยไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ทายาทเสียภาษี อัตรา 5%
4) ประกันชีวิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนมรดก และที่สำคัญคือ การบริหารความเสี่ยง โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ ซึ่งสินไหมมรณกรรมที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษี นอกจากนี้ผู้รับประโยชน์ยังได้รับเงินอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เพราะเงินประกันไม่ถูกรวมเข้ากับกองมรดกจึงสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับมรดกได้เลยโดยไม่ต้องรอการจัดการมรดก
ทั้งนี้ นางสาวอุมาพันธุ์ ให้คำแนะนำในการใช้ประกันชีวิตเพื่อบริหารจัดการภาษี ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่นการทำทุนประกันชีวิตเพื่อให้เพียงพอกับการชำระภาษีมรดก การแบ่งมรดกเท่าเทียม คือ สร้างมรดกให้ทายาทคนที่ไม่ได้รับกิจการโดยใช้ประกันสร้างมรดกชดเชยให้คนที่ได้สัดส่วนน้อยหรือไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของกิจการ หรือการสร้างมรดกก้อนใหญ่ ใช้เงินน้อย คือ การใช้ประกันสร้างมรดกให้บุตรหลานแต่ละคนเท่ากัน ด้วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันซึ่งมีวงเงินไม่สูง และเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้จ่ายในชีวิต
นางสาวอุมาพันธุ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแบบประกันที่จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนส่งมอบมรดก ตามรูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ คลายกังวลเรื่องภาษีมรดกที่อาจเกิดขึ้น ตอบโจทย์เรื่องการส่งต่อมรดกได้เป็นอย่างดี เพราะทุนประกันสูง เริ่มต้นตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และสามารถทำทุนประกันได้สูงสุดถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว
ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่* ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่น…สู่รุ่น อย่างไม่สะดุด
– ให้ความคุ้มครองชีวิตสูง คุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์อนุมัติ ยาวนานถึงอายุ 99 ปี
– จ่ายเบี้ยสั้นหรือยาว เลือกเองได้ เลือกชำระเบี้ยครั้งเดียว 5 ปี 10 ปี หรือ จ่ายถึงครบอายุ 99 ปี
– ส่งมอบหลักประกันให้ครอบครัว ได้ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ
– ช่วยบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินไหมมรณกรรมไม่ถือเป็นมรดก ไม่มีภาระทางภาษี
– ค่าเบี้ยลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน
– ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
– เป็นกรณีกรมธรรม์ไม่ได้ระบุผู้รับประโยชน์หรือระบุไว้แต่เสียชีวิตก่อนหรือพร้อมกับผู้เอาประกันภัย ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะตกแก่กองมรดกของผู้เอาประกันภัย