ยังร้อนได้อีก! ‘UN’ เผย ภายในปี 2100 โลกจะร้อนขึ้น 3.1 องศาเซลเซียล พลาดเป้าเดิมเกือบ 2 เท่า
แม้ว่าปัจจุบัน โลกจะมีข้อตกลงปารีสที่ได้กำหนดเพดานอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นอันตรายจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้ และอาจจะพลาดไปถึงสองเท่าตัวเลยทีเดียว
แม้ว่าปัจจุบัน โลกจะมีข้อตกลงปารีสที่ได้กำหนดเพดานอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นอันตรายจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้ และอาจจะพลาดไปถึงสองเท่าตัวเลยทีเดียว
ในปี 2015 รัฐบาลทั่วโลกได้ลงนามในข้อตกลงปารีส โดยร่วมกันกำหนดเพดานอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ระหว่างปี 2022-2023 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1.3% เป็นระดับสูงสุดที่เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 57.1 กิกะตัน และปัจจุบันโลกร้อนขึ้นประมาณ 1.3 องศาเซลเซียส
ส่งผลให้ในรายงานของ สหประชาชาติ (UN) ได้ประมาณการณ์ว่า ภายในปี 2100 โลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนมากถึง 3.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมากกว่าสองเท่าของการเพิ่มขึ้นที่ตกลงกันไว้เมื่อปี 2015 หากรัฐบาลไม่ดําเนินการมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาวะโลกร้อน
“หากเราดูความคืบหน้าสู่เป้าหมายปี 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งของรัฐสมาชิก G20 พวกเขาไม่ได้ก้าวหน้ามากนัก ต่อเป้าหมายสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน” แอนน์ โอลฮอฟฟ์ หัวหน้าบรรณาธิการวิทยาศาสตร์ที่จัดทำรายงาน กล่าว
อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ จะรวมตัวกันในเดือนหน้าในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศประจําปีของสหประชาชาติ (COP29) ในอาเซอร์ไบจาน เพื่อหาข้อสรุปในข้อตกลงที่ทําเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด โดยการเจรจาในครั้งนี้ จะช่วยให้แต่ละประเทศสามารถวางกลยุทธ์ในการลดการปล่อยมลพิษของแต่ละประเทศ
ทั้งนี้ รายงานประเมินว่า แต่ละประเทศต้องให้คํามั่นสัญญาร่วมกันและดําเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างน้อย 42% ภายในปี 2030 และถึง 57% ภายในปี 2035 สําหรับความหวังในการป้องกันภาวะโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายที่น่าจะเป็นไปได้ยาก