การฝากไข่ ทางเลือกของผู้หญิงยุคใหม่ที่วางแผนอนาคต
ในยุคปัจจุบันคุณผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีบุตรช้าลง อาจด้วยหน้าที่การงานหรือ lifestyle แต่การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นอาจพบกับปัญหามีลูกยากจากรังไข่ที่จะอาจเสื่อมลงตามกาลเวลา แม้ว่าจะยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ในตอนนี้แต่คุณสามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคตเมื่อมีควา
- Sep 23 2022
- 50
- 4083 Views
ในยุคปัจจุบันคุณผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีบุตรช้าลง อาจด้วยหน้าที่การงานหรือ lifestyle แต่การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นอาจพบกับปัญหามีลูกยากจากรังไข่ที่จะอาจเสื่อมลงตามกาลเวลา แม้ว่าจะยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ในตอนนี้แต่คุณสามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคตเมื่อมีความพร้อม และการฝากไข่ก็เป็นอีกทางเลือกให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น
การฝากไข่คืออะไร
การฝากไข่ คืออะไร
การฝากไข่ คือ การการนำเซลล์ไข่ออกมาเพื่อการเก็บรักษาเอาไว้เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพตามเวลา โดยวิธีการแข่แข็งไข่ ( egg freezing หรือ oocyte cryopreservation) นำเซลล์ไข่ไปแช่แข็งในสารไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ในคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แนะนำให้ทำก่อนอายุ 35 ปี เพื่อโอกาสได้ไข่ที่มีปริมาณมากพอและมีคุณภาพที่ดี
4 ขั้นตอนการเก็บไข่
1.ฉีดยากระตุ้นไข่
แพทย์จะให้ยากระตุ้นไข่ในขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละคน เพื่อทำให้ฟองไข่เจริญเติบโต โดยการฉีดยาบริเวณหน้าท้องด้วยตนเองประมาณ 8-10 วัน
2.ติดตามผลการกระตุ้นไข่
จะมีการอัลตราซาวด์ ประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อดูอัตรการเติบโตของไข่
3.ฉีดยาเหนี่ยวนำการตกไข่
เมื่อไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม (โตกว่า 18 มิลลิเมตรเป็นต้นไป) แพทย์จะให้ยาเหนี่ยวนำให้ไข่ตกและเก็บไข่หลังฉีดยาประมาณ 36 ชั่วโมง
4.เก็บไข่
แพทย์จะใช้การอัลตราซาวด์ระบุตำแหน่งไข่ แล้วเข็มเจาะเข้าไปยังรังไข่ ดูดเซลล์ไข่ออกมา ภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์
การแช่แข็งไข่
เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ จะถูกแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เซลล์ไข่จะได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่เสมอโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ
การนำไข่แช่แข็งมาใช้
เมื่อคุณมีความพร้อมจะมีบุตร เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาละลายเพื่อการผสมกับอสุจิโดยวิธีICSI เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนนั้นจะถูกย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกรอการฝังตัวเพื่อตั้งครรภ์ต่อไป
ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับวันเก็บไข่
1.งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนถึงเวลานัดหมายเก็บไข่
2.งดฉีดน้ำหอม เพราะจะเป็นสิ่งเร้าที่รบกวนเซลล์ไข่
3.งดการทำเล็บมือและเล็บเท้า และไม่ใส่คอนแทคเลนส์เพื่อใช้ในการประเมินร่างกายขณะให้ยาระงับความรู้สึก
4.ควรมาให้ตรงเวลานัดหมาย เพราะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการเก็บไข่
การปฏิบัติตัวหลังการเก็บไข่
- หลังการเก็บไข่จะมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือนและอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- ไม่ควรยกของหนักหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม ในช่วงหลังเก็บไข่ 1 สัปดาห์
- งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- ไม่ควรขับรถกลับเองหรือกลับรถสาธารณะตามลำพัง ควรมีผู้ดูแลมาด้วย 1 คน เพื่อคอยดูอาการช่วงเวลาการเดินทางกลับบ้าน
- คอยสังเกตอาการหลังการเก็บไข่ หากปวดท้องมากหรือท้องบวมควรมาพบแพทย์ทันที
ไข่ที่ฝากไว้จะถูกหยุดอายุและความเสื่อมสภาพ เพื่อคงไว้ให้ได้ไข่ที่สมบูรณ์จนกว่าจะถึงเวลาพร้อมใช้ เมื่อพร้อมมีบุตร ไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้จะถูกละลายเพื่อผสมกับอสุจิโดยวิธีการ ICSI หรือ IVF เพื่อให้ได้เป็นตัวอ่อนแล้วย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกต่อไป ซึ่งในกระบวนการเก็บไข่จะมีการใช้ปริมาณยาและการดูแลตัวเองที่แตกต่างกัน ฉะนั้นในทุกขั้นตอนการเก็บไข่ จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุอย่างใกล้ชิด
บทความโดย : พญ.มณีนุช ศรีผา แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4 โทร. 02-836-9999 ต่อ 4706