ไม่แก่ก็หูตึงได้! เช็คอาการ “ประสาทหูเสื่อม
โรคประสาทหูเสื่อม หรือ โรคประสาทหูดับฉับพลัน คืออาการที่ประสาทหูเกิดการเสื่อมภายในระยะสั้น ๆ หรืออาจเกิดการดับฉับพลัน ซึ่งผู้ที่มีอาการของโรคประสาทหูเสื่อมจะมีความสามารถในการได้ยินน้อยลงหรืออาจไม่ได้ยินเลย ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถขึ้นเกิดขึ้นได้แบ
- Nov 08 2022
- 89
- 8130 Views
อาการ “หูตึง” หรือ “โรคประสาทหูเสื่อม” คืออาการที่หลายคนเข้าใจว่าเกิดขึ้นในผู้ที่สูงอายุเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมร่วมด้วย!
“โรคประสาทหูเสื่อม” เป็นอย่างไร?
โรคประสาทหูเสื่อม หรือ โรคประสาทหูดับฉับพลัน คืออาการที่ประสาทหูเกิดการเสื่อมภายในระยะสั้น ๆ หรืออาจเกิดการดับฉับพลัน ซึ่งผู้ที่มีอาการของโรคประสาทหูเสื่อมจะมีความสามารถในการได้ยินน้อยลงหรืออาจไม่ได้ยินเลย ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถขึ้นเกิดขึ้นได้แบบชั่วคราวหรืออาจถาวรจนเข้าขั้นหูหนวก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที!
อาการของ “โรคประสาทหูเสื่อม”
- ได้ยินเสียงข้างใดข้างหนึ่งดังกว่าอีกข้าง
- หากอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดัง หรือ มีผู้พูดหลายคน การได้ยินจะมีความผิดปกติ
- ได้ยินเสียงของผู้ชายได้ดีกว่าของเด็กและผู้หญิง
- มีปัญหาในการได้ยินเสียงสูง
- ได้ยินเสียงไม่ชัด อู้อี้
- เวียนศีรษะหรือมีปัญหาในการทรงตัว
สาเหตุของ “โรคประสาทหูเสื่อม”
สาเหตุหลักของการเกิดโรคประสาทหูเสื่อมคือการที่ “เซลล์ประสาทหูหรือประสาทหู” เกิดการทำงานที่ “ผิดปกติ” โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- โรคประสาทหูเสื่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ
- การติดเชื้อไวรัส อาทิ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัด, หัดเยอรมัน, งูสวัด, คางทูม หรือไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสาทหูและเซลล์ประสาทหูเกิดการอักเสบ ดังนั้น เชื้อไวรัสจึงสามารถเดินทางเข้าสู่หูชั้นในผ่านทางกระแสเลือดและน้ำไขสันหลังได้
- การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน จึงส่งผลให้เซลล์ประสาทหูหรือประสาทหูขาดเลือด ดังนั้น เมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน หรือเซลล์ประสาทหูไม่มีแขนงจากเส้นเลือดใกล้เคียงมาช่วย หากอุดตันจึงทำให้เซลล์ประสาทหูตาย และประสาทหูเสื่อม
- การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง เกิดได้จากการสั่งน้ำมูกแรงเกินไป การไอแรง หรือการมีความดันในสมองสูงขึ้น
- โรคประสาทหูเสื่อมแบบทราบสาเหตุ
- การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจส่งผลให้เกิดการรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าสู่หูชั้นกลาง ทำให้เกิดเลือดออกในหู หรือเส้นประสาทหูและเซลล์ประสาทหูบาดเจ็บ
- การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
- การเปลี่ยนแปลงของความกดดันของหูชั้นใน เช่น การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศในบรรยากาศ เกิดขึ้นได้เมื่อ ดำน้ำหรือขึ้นเครื่องบิน เป็นต้น
- เนื้องอก อาทิ เนื้องอกของประสาททรงตัวที่มีการเพิ่มขนาดอย่างเฉียบพลัน
- การติดเชื้อของหูชั้นใน
- สารพิษหรือพิษจากยา เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดอาการหูตึงหรือประสาทหูเสื่อมได้ เช่น ตัวยาที่มีส่วนประกอบของ Salicylate
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งอาจกดเบียดทำลายเซลล์ประสาทหู
นอกจากนี้ การได้ยินเสียงดังเกินไปเป็นระยะเวลาติดต่อกันหรือการดื่มเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อการกระตุ้นประสาทอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดประสาทหูอักเสบจนนำไปสู่การหูหนวกได้ ดังนั้น หากพบความผิดปกติของการได้ยินแม้เพียงนิด ควรรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
.........................................................................................................
บทความโดย : นายแพทย์ปวีณ เพชรรักษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์โสต-ศอ-นาสิก ชั้น 3 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) โทร. 02-836-9999 ต่อ 3921