logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
สุขภาพ

รู้จัก “โรคพาร์กินสัน” อาการสั่น ที่ไม่ควรมองข้าม!

มือสั่น ขาสั่น เคลื่อนไหวช้า ไม่แสดงสีหน้า พูดเสียงเบาแทบไม่ได้ยิน อาการที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจนักหากเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เพราะเข้าใจว่าเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ของ “โรคพาร์กินสัน” ท

โดย: ทีมงาน Easy Branches - บริการโพสต์ของแขก

  • Nov 21 2022
  • 186
  • 7837 Views

มือสั่น ขาสั่น เคลื่อนไหวช้า ไม่แสดงสีหน้า พูดเสียงเบาแทบไม่ได้ยิน
อาการที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจนักหากเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ
เพราะเข้าใจว่าเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่า
อาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ของ “โรคพาร์กินสัน”
ที่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้!
“รู้จัก “โรคพาร์กินสัน”
โรคพาร์กินสัน คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง
โดยเฉพาะในส่วนที่มีการผลิตสารโดพามีน
สารที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวและทำให้การทรงตัวเป็นไปได้อย่างปกติ
ซึ่งเมื่อระบบประสาทและสมองเกิดความเสื่อม
การผลิตสารโดพามีนจะลดลง จนเกิดความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหว
อาทิ มือสั่น เคลื่อนไหวช้า หรือทรงตัวลำบาก
อาการของ “โรคพาร์กินสัน”
โดยปกติแล้ว
โรคพาร์กินสันจะไม่แสดงอาการเฉียบพลันเหมือนโรคทางสมองอื่น ๆ
และอาการที่จะแสดงออก จะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้
● อาการมือสั่น ขาสั่นขณะพัก เมื่อมีคนทักจะหยุดสั่น
● เคลื่อนไหวช้า
● เดินช้า ก้าวสั้น เดินโน้มไปข้างหน้า ไม่แกว่งแขน
● ล้มง่าย
● ใบหน้าเฉยเมย

● พูดเสียงเบา พูดรัวเร็ว
การรักษา “โรคพาร์กินสัน”
● รับประทานยา เพื่อปรับสมดุลสารโดพามีนในสมอง มักจะได้ผลดี
โดยเฉพาะในการรักษาช่วงเริ่มแรก
● ทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
● ผ่าตัด ในผู้ที่มีอาการดื้อยา
ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (Deep Brain
Stimulation, DBS)
โรคพาร์กินสัน คือโรคร้ายที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี จะเสี่ยงเกิดการพิการ
หรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้น
การสังเกตอาการผิดปกติของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
และหากพบว่ามีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหา
วินิจฉัย ให้การรักษาเป็นไปได้อย่างทันท่วงที!

พญ. พิมลพรรณ วิเสสสาระกูล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *2921

ข่าวสำคัญของไทย

อีซี่บร๊านเซสโกลบอล

คุณสามารถส่งประกาศของคุณได้

Satang ผู้นำด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites