ต่างประเทศ
ญี่ปุ่นหมายตา 'ระบบขนส่งจีน' ขึ้นภูเขาไฟฟูจิ
ญี่ปุ่นล้มเลิกเผนที่จะสร้างรถไฟที่ช่วยการเดินทางขึ้นภูเขาไฟฟูจิเอง และกำลังพิจารณาว่าจะใช้ระบบของจีนที่ผสมผสานรถขนส่งหลายตู้โดยสารแบบ 'แทรม (tram) ' กับรถบัสเเทนหรือไม่ ระบบของจีนที่กำลังได้รับการพิจารณาใช้พลังงานไฮโดรเจนที่พัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจจีน
ญี่ปุ่นล้มเลิกเผนที่จะสร้างรถไฟที่ช่วยการเดินทางขึ้นภูเขาไฟฟูจิเอง และกำลังพิจารณาว่าจะใช้ระบบของจีนที่ผสมผสานรถขนส่งหลายตู้โดยสารแบบ 'แทรม (tram) ' กับรถบัสเเทนหรือไม่
ระบบของจีนที่กำลังได้รับการพิจารณาใช้พลังงานไฮโดรเจนที่พัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจจีน 'ซีอาร์อาร์ซี' นอกจากนี้ยังมีบริษัทญี่ปุ่นอื่น ๆ อีกที่เป็นทางเลือกในโครงการนี้
ระบบที่เรียกว่า Autonomous Rail Rapid Transit หรือ ART ของจีนมีความคล้ายรถแทรม ตรงที่มีหลายตู้โดยสาร แต่ก็มีความคล้ายรถบัสตรงที่ใช้ล้อยางในการเเล่น แทนที่จะเป็นการเคลื่อนที่บนรางรถไฟ
ผู้ว่าการจังหวัดยามานาชิ โคทาโร นางาซากิ กล่าวที่งานแถลงข่าวว่า หากทางการเลือกแนวทาง "ฟูจิ แทรม" นี้ ก็จะสามารถลดคาก่อสร้างได้อย่างมาก
เขากล่าวว่าวิธีนี้อาจช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งยังช่วยบริหารไม่ให้มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปภูเขาไฟฟูจิมากเกินไปด้วย
"ขณะที่เราเคารพบริษัทผู้นำในโครงการนี้ ผมหวังว่าบริษัทญี่ปุ่นจะรับงานนี้ และจะยิ่งดีกว่านี้ถ้ามีการผลิตภายในยามานาชิ" ผู้ว่าการจังหวัดรายนี้กล่าว
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังภูเขาไฟยอดนิยมแห่งนี้ เพิ่มขึ้นมหาศาลและสร้างความกังวลต่อเจ้าหน้าที่เรื่องผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม
ทางการใช้มาตรการบริหารไม่ให้จำนวนนักท่องเที่ยวมากเกินไป และการเก็บค่าธรรมเนียม 2,000 เยน หรือประมาณ 450 บาท ช่วยทำให้นักปีนภูเขาไฟฟูจิช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา ลดลงมาที่ 178,000 คน เทียบกับกว่า 200,000 รายเมื่อปีที่เเล้ว
เจ้าหน้าที่ในยามานาชิ ซึ่งอยู่ในด้านยอดนิยมของภูเขาไฟ ประกาศแผนเมื่อปี 3 ปีก่อน ที่จะสร้างระบบขนส่งราง ไปที่ระดับความสูง 2,305 เมตร
ในเวลานี้ ผู้ที่มาเยือนมาสามารถขับรถขึ้นไปที่ระดับดังกล่าว จากนั้นต้องเดินต่อไปที่ยอดภูเขาไฟแห่งนี้ที่ระดับความสูง 3,776 เมตร
คาดว่ามูลค่าโครงการระบบขนส่งดังกล่าวจะอยู่ที่ 140,000 ล้านเยนหรือ กว่า 33,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ จะเชื่อมกับสถานีขนส่งระดับภูมิภาค และน่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเร็วอีก 10 ปีจากนี้
การศึกษาความเป็นไปได้จะถูกเปิดเผยให้ประชาชนในพื้นที่พิจารณาด้วย
ทั้งนี้ญี่ปุ่นตั้งเป้ารับนักท่องเที่ยว 60 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2030 หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2019 ที่มา: เอเอฟพี