รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิ ทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า มทร.อีสาน ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายด้าน Food and Health โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภา มทร.อีสาน ได้มอบหมายนโยบายในการให้ ความสำคัญในเรื่องการรั กษาอาการเจ็บป่วย ด้วยศาสตร์ด้านแพทย์ แผนไทยและการใช้พืชสมุ นไพรไทยของคนในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านการดำเนิ นงานของโรงพยาบาลการแพทย์ แผนไทยสกลนคร (หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท) ที่เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการรั กษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนไทย เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และวิจั ยด้านสุขภาพแบบนวัตวิถี เมื่อประเทศไทยเกิดสภาวการณ์วิ กฤตการระบาดของโรคติดต่อไวรั สโคโรนา (COVID-19)
มทร.อีสาน ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เปิดให้บริการดูแลรักษาผู้ป่ วยโควิด-19 การนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์ แผนไทยและการใช้ยาสมุนไพรไทยเป็ นแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อศูนย์ดูแลในชุมชน (แผนไทย) : TTM-CI (TTM-CI : Thai Traditional Medicine – Community Isolation โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์ ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ฯ ดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2564 ณ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย สกลนคร (หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท) อ.พังโคน จ.สกลนคร
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิ ดในจังหวัดสกลนครมีปริมาณเพิ่ มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ติดเชื้อมาจากต่างจังหวั ดแต่ขอกลับมารักษาตัวที่ภูมิ ลำเนา และการติดเชื้อภายในจังหวั ดและอำเภอต่างๆ เอง จึงต้องจัดเตรียมพื้นที่รองรั บผู้ป่วยให้เพียงพอ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร จึงประสานขอความร่วมมือ มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยจัดตั้งศูนย์ TTM-CI ที่ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย สกลนคร (หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท) เป็นที่รองรับผู้ป่วยโควิดของจั งหวัดสกลนคร ที่ตรวจพบติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว แต่ยังไม่แสดงอาการ มีเพียงอาการไม่พึงประสงค์ และไม่ใส่อุปกรณ์ช่วยชีวิต หากผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น (เชื้อลงปอด) จะส่งต่อไปที่อยู่ใกล้เคียงได้ แก่ โรงพยาบาลพังโคน โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร หรือโรงพยาบาลสมเด็จพระยุ พราชสว่างแดนดิน
ในส่วนการรักษาอาการจากการติ ดเชื้อโควิด-19 ของศูนย์ TTM-CI นี้ จะเป็นการรักษาด้วยศาสตร์ด้ านแพทย์แผนไทยบูรณาการร่วมกั บแพทย์แผนปัจจุบัน ตามแนวทางของกรมการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้สมุนไพรไทย อาทิเช่น ฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ ระงับอาการอักเสบ ยาตรีผลา บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยาปราบชมพูทวีป บรรเทาอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้มีตำรับยาสมุนไพรอื่ นๆ ได้แก่ ยาจันทลีลา ยาประสะจันทร์แดง ยาหอม นวโกศฐ ยาห้าราก ยาน้ำสาบานจากวัดคำประมง และตำรับยาจากหมอพื้นบ้าน โดยรักษาควบคู่ไปกับการบิ โภคอาหารตามธาตุของผู้ป่วย โดยปรุงอาหารจากเครื่องเทศที่มี สรรพคุณต้านเชื้อโควิดและเสริ มสร้างภูมิคุ้มกันโรค
รศ.ดร.โฆษิต กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้จัดเตรียมสถานที่ โดยใช้พื้นที่อาคารผู้ป่วยนอก สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 50 เตียง มีบุคลากรทางการแพทย์จากสำนั กงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และ มทร.อีสาน มีกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย และใช้ Social media ในการติดต่อประสานงาน หากจำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่ มมากขึ้น สามารถขยายไปอาคารผู้ป่ วยในสามารถรับได้อีกกว่า 100 เตียง
อนึ่ง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน มีโรงงานแปรรูปอาหาร และโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่ได้ มาตรฐาน มีการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ในสาขาแพทย์แผนไทย และสาขาเกษตร จึงมีความพร้อมและศักยภาพการผลิ ตอาหารสุขภาพและยาสมุนไพรสำหรั บผู้ป่วยโควิดได้ดี ทั้งยังมีนักศึกษาหลักสู ตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ภายใต้มูลนิธิ BCL จำนวนกว่า 70 คน ที่สามารถผลิตวัตถุดิ บอาหารและยาสมุนไพรได้อย่างต่ อเนื่อง สร้างทักษะการเรียนรู้และใช้ ประโยชน์ได้ทันสถานการณ์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเป็นโมเดลต้ นแบบของการพัฒนาระบบสุ ขภาพไทยอย่างครบวงจรและยั่งยืน รศ.ดร.โฆษิต กล่าวทิ้งท้าย