logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
สุขภาพ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายกว่าที่คิด

อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นชั่วคราวระหว่างการออกกำลังกาย หรือการตอบสนองต่อความเครียดและการบาดเจ็บทางร่างกาย รวมไปถึงผู้มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะหัวใจเต้นเร็วอาจรบกวนการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะแ

โดย: ทีมงาน Easy Branches - บริการโพสต์ของแขก

  • Jan 27 2023
  • 81
  • 8521 Views
 อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายกว่าที่คิด
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตร

อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นชั่วคราวระหว่างการออกกำลังกาย หรือการตอบสนองต่อความเครียดและการบาดเจ็บทางร่างกาย รวมไปถึงผู้มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะหัวใจเต้นเร็วอาจรบกวนการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

อัตราการเต้นของหัวใจปกติเป็นอย่างไร?

การตรวจวัดชีพจรเป็นขั้นตอนแรกที่มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยปกติในขณะพัก หัวใจจะเต้นอย่างสม่ำเสมอประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที และอัตราการเต้นหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นตามกิจกรรมทางกาย เนื่องจากร่างกายต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ เช่น การเดิน หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร ? 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เกิดจากภาวะคลื่นหัวใจส่งสัญญาณไฟฟ้าในห้องหัวใจลัดวงจร 

ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือไม่สม่ำเสมอ โดยทั่วไปมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ 

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอย่างไร ? 

  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • วิงเวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ
  • หายใจลำบาก
  • เหนื่อยง่าย
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เช่น ขาบวม นอนราบไม่ได้ เป็นต้น

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากสาเหตุอะไร

  • การสูบบุหรี่หรือการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • ความเครียด 
  • ภาวะนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน กลุ่มโรคต่อมไทรอยด์ 
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจหรือหลอดเลือดใกล้หัวใจตั้งแต่กำเนิด
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากคุณมีอาการแสดงเหล่านี้อย่างฉับพลันหรือบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ทั้งนี้แพทย์จะทำการวินิจฉัยความผิดปกติด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยการตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถวินิจฉัยได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน การเอกซเรย์หัวใจ และการวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดนั้น ควรหมั่นดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้หัวใจของคุณมีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจจะตามมา 

บทความโดย แพทย์หญิงกาญจนา อักษรวรนารถ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์หัวใจ ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล โทร 02-836-9999 ต่อ *2821-3

ข่าวสำคัญของไทย

อีซี่บร๊านเซสโกลบอล

คุณสามารถส่งประกาศของคุณได้

Satang ผู้นำด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites