logologo

Easy Branches ให้คุณแบ่งปันโพสต์แขกของคุณภายในเครือข่ายของเราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วโลก เริ่มแบ่งปันเรื่องราวของคุณวันนี้!

Easy Branches

34/17 Moo 3 Chao fah west Road, Phuket, Thailand, Phuket

Call: 076 367 766

info@easybranches.com
วาไรตี้

หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 429 ระหว่างวันที่ 26 เม.ย.-3 พ.ค.67 หน้า 20-21 buzz หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”             แม้ว่าการศึกษาสงครามที่อยู่บริเวณชายแดนไทยด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก ที่คู่กรณีคือ “พม่าหรือเมียนมากับชนเผ่ากะเหรี่ยง” ซึ่งไม่เ


  • Apr 27 2024
  • 80
  • 3861 Views
หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”
หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 429 ระหว่างวันที่ 26 เม.ย.-3 พ.ค.67

หน้า 20-21 buzz

หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”

            แม้ว่าการศึกษาสงครามที่อยู่บริเวณชายแดนไทยด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก ที่คู่กรณีคือ “พม่าหรือเมียนมากับชนเผ่ากะเหรี่ยง” ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับไทยใด ๆ เลย แต่มิวายจะถูกผลกระทบ อาทิ ชาวเมียนมาหนีตายอพยพข้ามมาฟากประเทศไทย การค้าและการขนส่งที่ต้องติดต่อผ่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา รวมถึงการท่องเที่ยว บางกอก buzz จึงขอนำเสนอภาพยนตร์ไทยเรื่องเด่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไทยรบพม่า ว่ามีเรื่องใดกันบ้าง

เลือดสุพรรณ (ปี 2494/2522)

เลือดสุพรรณ” ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2494 และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการศึกระหว่างไทยและพม่า กำกับภาพยนตร์โดย เชิด ทรงศรี นำแสดงโดย ลลนา สุลาวัลย์ และ ไพโรจน์ สังวริบุตร ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ ลลนา สุลาวัลย์ ถูกเสนอชื่อ 1 ใน 5 เข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ปี 2524 วันที่ 4 ตุลาคม 2561 หอภาพยนตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศให้ภาพยนตร์เรื่อง “เลือดสุพรรณ” เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2561

บางระจัน (ปี 2543)

“บางระจัน” (เข้าฉายวันที่ 29 ธันวาคม 2543) ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ ผลงานลำดับที่ 10 ของ “ธนิตย์ จิตนุกูล” สร้างขึ้นมาจากเรื่องราวของวีรชนบ้านบางระจันแห่งจังหวัดสิงห์บุรี ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี ที่กล่าวกันว่าเป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านธรรมดา ๆ ต่อต้านกองทัพพม่าที่มีกำลังเหนือกว่าได้ถึง 5 เดือน จนตัวตาย เรื่องราวของวีรกรรมส่วนนี้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง และประพันธ์เป็น เพลงปลุกใจ ที่รู้กันกันดี เช่น ศึกบางระจัน ของ ขุนวิจิตรมาตรา

เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย กลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่า คงเป็นด้วยการที่เป็นวีรกรรมของบุคคลระดับชาวบ้านจึงง่ายต่อการเข้าใจและในช่วงเวลานั้นใกล้จะถึงการเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหม่ครั้งแรกของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่างมากที่สุดในขณะนั้น ทำให้ภาพยนตร์ได้รายได้มหาศาลถึง 151 ล้านบาท จนต้องมีการตัดต่อใหม่ ใส่คำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติ เพื่อนำไปฉายต่อในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ

นำแสดงโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ รับบท อ้ายทองเหม็น, วินัย ไกรบุตร รับบท อ้ายอิน, จรัล งามดี รับบท อ้ายจันหนวดเขี้ยว และ บงกช คงมาลัย รับบท อีสา

บางระจัน 2 (ปี 2553)

“บางระจัน 2” เป็นภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ ภาคต่อเนื่องจาก “บางระจัน” กำกับภาพยนตร์โดย “ธนิตย์ จิตนุกูล” เข้าฉายวันที่ 25 มีนาคม 2553 จัดจำหน่ายโดย พระนครฟิลม์

ภายหลังวีรกรรมของกลุ่มนักรบบ้านระจัน เรื่องราวของพวกเขากลายเป็นตำนานแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ปลุกให้ชาวบ้านผู้กล้าอีกหลายคนมาจับดาบสู้กับพม่า หลายหมู่บ้านลุกขึ้นต่อต้านการรุกรานจากพม่า แม้ว่าอยุธยาเมืองหลวงจะอ่อนแอ แต่ชาวบ้านตัวเล็กๆ กลับพยายามยืนยัดต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินบ้านเกิด หากไม่มีความช่วยเหลือจากอยุธยา และไม่มีปาฏิหาริย์จากฟ้า เลือดของคนไทยจะไหลนองพื้นแผ่นดินเกิดอีกครั้ง กลุ่มกำลังนักรบผ้าประเจียดเพียงไม่กี่ร้อย ยกดาบขึ้นโห่ร้องก่อนเข้าประจันบานกองทัพนับพันของพม่า วันนี้ตำนานบ้านระจันกำลังจะถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยวิญญาณและเลือดเนื้อของคนไทย เสียงประดาบและเสียงโห่ร้องดังกึกก้อง นี้คืออีกตำนานการต่อสู้เพื่อจะบอกคนไทยทุกคนว่า ดินทุกก้อน ต้นไม้ทุกต้น สายน้ำทุกสาย หล่อหลอมขึ้นมาจากเลือดและเนื้อของคนไทย จงรักษามันไว้ให้ดี”

นำแสดงโดย ภราดร ศรีชาพันธุ์ รับบท นายมั่น, ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบท พระยาเหล็ก, วีรยุทธิ์ นานช้า รับบท หมื่นเสนา และ ภูริ หิรัญพฤกษ์ รับบท นายแดง

สุริโยไท (ปี 2544)

            “สุริโยไท” เป็นภาพยนตร์ไทยปี 2544 (เข้าฉายวันที่ 17 สิงหาคม 2544) กำกับภาพยนตร์โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เล่าเรื่องชีวิตของพระสุริโยทัย ซึ่งคนไทยยกย่องให้เป็น “สตรีนิยมผู้ยิ่งใหญ่”  เรื่องราวของพระนางถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารเมื่อพระนางต้องดวลกับตะโดธรรมราชาที่ 1 บนหลังช้างและเสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องสมเด็จพระมหาจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามีและอาณาจักรอยุธยา เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย ณ ขณะนั้น

สำหรับนักแสดงนำ ประกอบด้วย หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี รับบท พระสุริโยไท, ศรัณยู วงศ์กระจ่าง รับบท พระเฑียรราชา หรือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบท ขุนพิเรนทรเทพ หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง รับบท พระไชยราชา หรือ สมเด็จพระไชยราชาธิราช, จอนนี่ แอนโฟเน่ รับบท ขุนวรวงศาธิราช, ใหม่ เจริญปุระ รับบท ท้าวศรีสุดาจันทร์ และ สินจัย เปล่งพานิช รับบท ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (จิตรวดี)

            ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ปี2550-2558)

“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง “สุริโยไท” แต่เดิมถูกกำหนดให้มีทั้งหมด 5 ภาคแต่มีการสร้างจริงรวมทั้งหมด 6 ภาค โดยภาคแรกของภาพยนตร์ชุดนี้ คือเรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา” เข้าฉายเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ต่อด้วยภาค 2 ในชื่อเรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ” ที่ออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปี 2007 ภาพยนตร์ชุดเรื่องนี้ ถูกผลิตและออกฉายอย่างต่อเนื่องทั้ง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวีออกฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2011 “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรงออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปี 2011 “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี” ออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ปี 2014 และภาคสุดท้าย “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา” ที่ออกฉายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ปี 2015

ภาพยนตร์ชุดเรื่องนี้ อยู่ในภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ร่วมกับเรื่อง สุริโยไท) ปัจจุบันถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดในประเทศไทย รวมรายได้จากภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่อง 1,415 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่องที่ทำรายได้มากที่สุดในชุดนี้ คือเรื่อง สุริโยไท ที่ทำเงินไปประมาณ 324.5 ล้านบาท

ทั้งนี้ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มี 6 ภาค ทุนสร้าง 700 ล้านบาท (ในครั้งแรกกำหนดให้มี 5 ภาค) เป็นภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง “สุริโยไท” โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าภาพยนตร์เรื่อง “สุริโยไท” ในทุกด้าน โดยมีขอบเขตการทำงานใหญ่กว่า อลังการกว่า ฉากต่าง ๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า นักแสดงหลัก และนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่า เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า[3] ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา

(ที่มาข้อมูล/ภาพ : วิกิพีเดีย/postjung/อินเทอร์เน็ต)

 

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์

หน้า 20-21 buzz

หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๒๙

ระหว่างวันที่ ๒๖ เมษายน-๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗

https://book.bangkok-today.com/books/lsuh/#p=20

https://book.bangkok-today.com/books/lsuh/#p=21

(พลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

The post หนังไทยเวอร์ชั่น “ไทยรบพม่า” first appeared on สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์.

ที่เกี่ยวข้อง


แบ่งปันหน้านี้

โพสต์ของแขกโดย Easy Branches

all our websites