ต่างประเทศ
แบรนด์ ‘พราด้า’ เปิดตัวชุดนักบินอวกาศนาซ่าพร้อมท่องดวงจันทร์
แบรนด์แฟชั่นหรูสัญชาติอิตาเลียน “พราด้า” และบริษัทสตาร์อัพ Axiom Space จากนครฮิวสตันในสหรัฐฯ ร่วมกันเปิดตัวดีไซน์ชุดสำหรับนักบินอวกาศใหม่ล่าสุดในวันพุธ โดยทีมนักบินอวกาศของภารกิจอาร์ทีมิส-3 (Artemis 3) ของนาซ่าจะเป็นผู้สวมชุดใหม่นี้ในภารกิจสำรวจดวงจั
แบรนด์แฟชั่นหรูสัญชาติอิตาเลียน “พราด้า” และบริษัทสตาร์อัพ Axiom Space จากนครฮิวสตันในสหรัฐฯ ร่วมกันเปิดตัวดีไซน์ชุดสำหรับนักบินอวกาศใหม่ล่าสุดในวันพุธ โดยทีมนักบินอวกาศของภารกิจอาร์ทีมิส-3 (Artemis 3) ของนาซ่าจะเป็นผู้สวมชุดใหม่นี้ในภารกิจสำรวจดวงจันทร์ที่มีกำหนดในปี 2026 ตามรายงานของรอยเตอร์
เมื่อดูจากภายนอก ชุดนักบินอวกาศใหม่นี้ดูไม่แตกต่างจากจุดแบบที่คุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่แล้วนัก นั่นก็คือ เป็นชุดสีขาวที่ดูหนา-หนัก แต่มีการตกแต่งด้วยลายเส้นสีแดงและลายผ้าสีเทาที่บริเวณเข่าและข้อศอก
ชุดที่มีชื่อว่า Axiom Extravehicular Mobility Unit (AxEMU) ถูกนำออกแสดงที่การประชุม International Astronautical Congress ในนครมิลาน โดยทีมงานบอกว่า เป็นการนำเสนอการผสมผสานการใช้งานได้จริงที่มีการออกแบบและผลิตมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ ที่จะช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมอันแสนท้าทายบนดวงจันทร์ได้
ทั้งนี้ ภารกิจ Artemis 3 ถูกกำหนดให้เป็นการลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกนับตั้งแต่ความสำเร็จของยานอพอลโล 17 (Apollo 17) เมื่อปี 1972
แถลงการณ์ร่วมจากพราด้าและ Axiom Space ระบุว่า ชุดนักบินอวกาศนี้ถูกผลิตมาจากวัสดุที่จะสามารถรับมือกับอุณหภูมิระดับสูงสุดขีดที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ และความเย็นสุดขั้วที่ปกคลุมเกือบทั่วทั้งดวงจันทร์เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน
ในภารกิจนี้ นักบินอวกาศมีภารกิจออกเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
แถลงการณ์นี้ยังยืนยันด้วยว่า ชุด AxEMU นี้ผ่านการทดสอบมาอย่างละเอียดในทุกด้าน โดยรวมถึงการนำไปทดสอบใต้น้ำเพื่อจำลองสภาพไร้น้ำหนักบนดวงจันทร์ และกำลังอยู่ในขั้นสุดท้ายของการพัฒนาชุดแล้ว
ขณะที่ ภารกิจสำรวจอวกาศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศกลายมาเป็นสิ่งที่รุดหน้าไปพร้อม ๆ กันอยู่ แบรนด์แฟชั่นหรูทั้งหลายเริ่มแสวงหาความเป็นหุ้นส่วนกับหน่วยงานด้านอวกาศมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อเดือนที่แล้ว ห้องเสื้อปิแอร์ การ์แดง (Pierre Cardin) ของฝรั่งเศส เพื่อเปิดตัวชุดฝึกนักบินอวกาศที่วางตัวไว้ให้ใช้งานที่ศูนย์ European Space Agency ในเมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนีไป
ที่มา: รอยเตอร์